วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2554

สารกัมตภาพรังสีจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์

สืบเนื่องมาจากเหตุแผ่นดินไหวที่ประเทศญี่ปุ่น จนทำให้เกิดความเสียหายต่อโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ จนเป็นข่าวไปทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย  พอจะสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
สารกัมมันตรังสีที่ใช้ในโรงผลิตกระแสไฟฟ้า  คือ Uranium – 235 ซึ่งในปฏิกิริยาที่มีการแตกตัวของ Uranium-235  จะได้ Isotopes  ออกมา ประมาณ 61 ตัว แต่ Isotope ที่ก่อให้เกิดผลต่อมนุษย์โดยตรง คือ Iodine-131 ซึ่งจะมีประมาณ 2.8 % เมื่อแพร่กระจายออกมา อาจจะปนเปื้อนในอาหาร เมื่อมนุษย์รับประทานอาหารที่ปนเปื้อน Iodine-131 จะมีการดูดซึมผ่านลำไส้เข้าสู่กระแสเลือด ไปยังต่อมธัยรอยด์  ซึ่งมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนธัยรอยด์ จากสาร Iodine  ตัว Iodine-131 ซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสี มีค่า Half  life ประมาณ  8 วัน และปล่อยรังสีแกมม่าและเบต้า จึงอาจทำอันตรายต่อต่อมธัยรอยด์ได้ โดยอาจก่อให้เกิดการอักเสบของต่อมธัยรอยด์ หรือเกิดมะเร็งต่อมธัยรอยด์ในระยะยาวได้
จากการตรวจวัดปริมาณรังสีแกมม่าตามภูมิภาคต่างๆ  ของประเทศไทย ยังไม่พบปริมาณรังสีในส่วนใดมีค่าผิดปกติ  จึงไม่มีความจำเป็นต้องกังวลถึงผลของ Iodine-131  ดังกล่าว แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องเดินทางไปในพื้นที่ที่อาจมีความเสี่ยงในประเทศญี่ปุ่น ควรจะป้องกันต่อมธัยรอยด์ จาก Iodine-131 โดยการรับประทาน  Potassium  iodide tablet ซึ่งเป็น Stable iodine โดยผู้ใหญ่รับประทานเม็ดใหญ่ (130 mg) และเด็กรับประทานเม็ดเล็ก (65 mg)  วันละ  1 เม็ด โดยรับประทานก่อนเดินทางเข้าพื้นที่เสี่ยง 1 วัน และทานต่อวันละ 1 เม็ดทุกวันในระหว่างที่ยังอยู่ในพื้นที่ และควรออกนอกพื้นที่เสี่ยงทันทีเมื่อเสร็จภารกิจ  ถ้าไม่สามารถหา Potassium  iodide tablet ได้อาจรับประทานในรูปของสารละลาย Lugol’s  solution หรือ SSKI (Saturated  solution of potassium iodide ) โดยทานให้ได้ปริมาณวันละ 100 mg สำหรับผู้ใหญ่
หมายเหตุ :
- ไม่ควรรับประทาน Potassium iodide ดังกล่าวถ้าไม่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง เนื่องจากการได้รับไอโอดีนปริมาณสูงโดยไม่จำเป็นอาจมีผลข้างเคียงทำให้การทำงานของต่อมธัยรอยด์ผิดปกติได้
- การทา Betadine ที่บริเวณคอตามที่เป็นข่าวไม่มีประโยชน์อันใดในการป้องกันอันตรายของ   Iodine-131
- การรับประทานอาหารในพื้นที่เสี่ยง ควรเลือกรับประทานอาหารที่รู้แหล่งผลิตที่แน่นอน หรือนำอาหารสำเร็จรูปไปเอง
พ.อ. ณรงค์ชัย   ศรีอัศวอมร
                     ( Certified  Board of  Nuclear Medicine)
  รอง ผอ.กองรังสีกรรม รพ.พระมงกุฎเกล้า กรมแพทย์ทหารบก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น