วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554

สรุปผลการดำเนินงานโครงการเฝ้าระวังเจ็บป่วยจากความร้อนจากการฝึกทหารใหม่

        แผนกเวชกรรมป้องกัน รพ.รร.จปร.เสนอข่าวสรุปผลการดำเนินงานโครงการเฝ้าระวังการเจ็บป่วยจากการฝึกทหารใหม่ ผลัด ๑/๕๓ ของกองทัพภาคที่ ๑ - ๔ ซึ่งพบว่าการเจ็บป่วยมากที่สุดในพื้นที่ ทภ.๑ จำนวนผู้ป่วย ๔๐ นาย ไม่พบผ้เสียชีวิต รายละเอียดดังนี้นะครับ
http://www.amed.go.th/rta_med/prevent/index.php?option=com_content&view=article&id=29:2010-12-22-05-26-04&catid=11:2010-07-16-15-53-21

สรุปข่าวด้านสาธารณสุขประจำวัน ๓๑ มี.ค.๕๔

แผนกเวชกรรมป้องกัน รพ.รร.จปร.ขอสรุปข่าวประจำวันด้านสาธารณสุขที่สำคัญในห้วงที่ผ่านมาตามรายละเอียดที่แนบมานี้นะครับ
http://www.moph.go.th/ops/iprg/news_pic/March31.pdf

อย. เผย ผลตรวจวัดสารกัมมันตรังสีในอาหารที่นำเข้าจากญี่ปุ่น (รายงานผลตรวจครั้งที่ 9)

      ด้วยในขณะที่ประชาชนทั่วไปกำลังตื่นตระหนกกับสารกัมมันตรังสีที่อาจติดมาในอาหารที่นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น แต่อย่างกก็ตาม แผนกเวชกรรมป้องกัน รพ.รร.จปร.ขอรายงานข่าวสารเพื่อให้ กำลังพลและครอบครัวในพื้นที่ รร.จปร.เรามั่นใจในการบริโภคว่า ขณะนี้  อย.ก็เฝ้าระวังตรวจสอบอยู่เสมอ ซึ่งในวันนี้ (30 มีนาคม 2554) เวลา 12.00 น. จำนวน 103 ตัวอย่าง ทุกตัวอย่างอยู่ในเกณฑ์ “ปกติ” และในวันที่ 29 มีนาคม 2554 อย. ได้เก็บตัวอย่างอาหารส่งให้สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติตรวจหาสารกัมมันตรังสีแล้ว ตรวจหาสารกัมมันตรังสี จำนวน 19 ตัวอย่าง ได้แก่ อาหารทะเล จำนวน 11 ตัวอย่าง แป้ง จำนวน       5 ตัวอย่าง ผัก จำนวน 2 ตัวอย่าง และถั่ว จำนวน 1 ตัวอย่าง รายละเอียดดังนี้นะครับhttp://www.moph.go.th/ops/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=37655
        ด้วยความปรารถนาดีจาก แผนกเวชกรรมป้องกัน รพ.รร.จปร.ครับ

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554

ขั้นตอนวิธีการทำน้ำเกลือ

แผนกเวชกรรมป้องกัน ขอแนะนำวิธีการทำน้ำเกลืออย่างง่ายเพื่อใช้ในครัวเรือนทดแทนการเสียน้ำที่อาจเกิดจากโรคระบบทางเดินอาหารเช่นอาหารเป็นพิษ ท้องร่วง เป็นต้น วิธีทำง่ายๆตามขั้นตอนนี้นะครับ
http://www.youtube.com/watch?v=pHHkt5q6VZc

การป้องกันโรคที่มากับน้ำท่วม

      ด้วยขณะนี้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมหลายจังหวัดในภาคใต้ เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายจากโรคและภัยที่มีจากน้ำท่วม แผนกเวชกรรมป้องกัน รพ.รร.จปร.จึงใคร่ขอขอแนะนำโรคและการป้องกันอันตรายจากที่จะมากับน้ำท่วม ดังนี้ นะครับ
http://www.ddc.moph.go.th/advice/showimgpic.php?id=269
พร้อมกันนี้ยังมีวิธีทำอุปกรณ์ช่วยคนจมน้ำด้วยนะครับ
http://www.youtube.com/watch?v=lr7UC8Wdwac
ด้วยความปรารถนาดีจาก แผนกเวชกรรม รพ.รร.จปร.ครับ

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554

เตือนกำลังพลและครอบครัวดูแลสุขภาพช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง




         ด้วยขณะนี้สภาพอากาศในช่วงนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอากาศเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาวเดี๋ยวฝนตก ผวป.รพ.รร.จปร.มีความเป็นห่วงสุขภาพของกำลังพลและครอบครัวเป็นอย่างยิ่ง จึงขอ แนะออกกำลังกายแบบง่าย ๆ ควบคู่กับการรับประทานอาหารร้อน เพื่อช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย
         อย่างไรก็ตาม ดร.นายแพทย์ สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย แนะประชาชนถึงการดูแลสุขภาพตนเองในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง ว่า ขณะนี้ในบางพื้นที่ของประเทศไทยกำลังประสบกับความเปลี่ยนแปลงของอากาศที่ลดต่ำลง  ประชาชนจึงควรหันมาดูแลรักษาสุขภาพให้มากขึ้นเป็นพิเศษ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กอ่อน เด็กเล็ก และผู้สูงอายุ นับว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มักได้รับผลกระทบต่อสุขภาพได้ง่าย พ่อแม่  ผู้ปกครอง และผู้สูงอายุ จึงต้องมีความเข้าใจ และรู้จักการดูแลสุขภาพตนเองและลูกหลานอย่างปลอดภัยในช่วงที่อากาศเปลี่ยน เพื่อป้องกันโรค ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับโรคระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะโรคไข้หวัด เพราะหากป่วยเป็นไข้หวัดในช่วงอากาศหนาว และไม่มีการดูแลสุขภาพที่ดี อาจส่งผลให้กลายเป็นโรคหลอดลมอักเสบและโรคปอดบวมได้ในที่สุด
         ดร.นายแพทย์ สมยศ  กล่าวต่อไปว่า วิธีที่ทำให้ร่างกายอบอุ่นคลายหนาวที่เหมาะกับทุกกลุ่มวัย สามารถทำได้ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยการเลือกออกกำลังกายอย่างง่าย ๆ อาทิ การเดินเร็ว ๆ การวิ่งเหยาะ การขี่จักรยาน การเล่นกีฬาที่มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง  สัปดาห์ละ 5 วัน เป็นเวลาอย่างน้อยวันละ 30 นาที และที่สำคัญอีกประการ คือ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นประเภทผักและผลไม้สดที่มีวิตามินซีสูง ซึ่งจะมีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคระบบทางเดินหายใจ
          ขอได้รับความปรารถนาดี จาก ผวป.รพ.รร.จปร.ครับ

วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2554

การให้ยาไอโอดีนเม็ด

ด้วยขณะนี้ประชาชนกำลังหวั่นกับพิษสารกัมตภาพรังสีจากประเทศญี่ปุ่นเลยต้องหาซื้อเกลือไอโอดีนเม็ดไว้ป้องกัน ซึ่ง ปลัดสธ. ชี้การให้ยาไอโอดีนเม็ด ให้เฉพาะคนไทยที่จะเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงรัศมี 30 กิโลเมตรจากโรงงานไฟฟ้าฟุกุชิมะเท่านั้น อ่านรายละเอียดต่อไปได้จากที่นี่ ด้วยความปรารถนาดีจาก ผวป.รพ.รร.จปร.ครับ
http://www.moph.go.th/ops/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=37360

สารกัมตภาพรังสีจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์

สืบเนื่องมาจากเหตุแผ่นดินไหวที่ประเทศญี่ปุ่น จนทำให้เกิดความเสียหายต่อโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ จนเป็นข่าวไปทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย  พอจะสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
สารกัมมันตรังสีที่ใช้ในโรงผลิตกระแสไฟฟ้า  คือ Uranium – 235 ซึ่งในปฏิกิริยาที่มีการแตกตัวของ Uranium-235  จะได้ Isotopes  ออกมา ประมาณ 61 ตัว แต่ Isotope ที่ก่อให้เกิดผลต่อมนุษย์โดยตรง คือ Iodine-131 ซึ่งจะมีประมาณ 2.8 % เมื่อแพร่กระจายออกมา อาจจะปนเปื้อนในอาหาร เมื่อมนุษย์รับประทานอาหารที่ปนเปื้อน Iodine-131 จะมีการดูดซึมผ่านลำไส้เข้าสู่กระแสเลือด ไปยังต่อมธัยรอยด์  ซึ่งมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนธัยรอยด์ จากสาร Iodine  ตัว Iodine-131 ซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสี มีค่า Half  life ประมาณ  8 วัน และปล่อยรังสีแกมม่าและเบต้า จึงอาจทำอันตรายต่อต่อมธัยรอยด์ได้ โดยอาจก่อให้เกิดการอักเสบของต่อมธัยรอยด์ หรือเกิดมะเร็งต่อมธัยรอยด์ในระยะยาวได้
จากการตรวจวัดปริมาณรังสีแกมม่าตามภูมิภาคต่างๆ  ของประเทศไทย ยังไม่พบปริมาณรังสีในส่วนใดมีค่าผิดปกติ  จึงไม่มีความจำเป็นต้องกังวลถึงผลของ Iodine-131  ดังกล่าว แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องเดินทางไปในพื้นที่ที่อาจมีความเสี่ยงในประเทศญี่ปุ่น ควรจะป้องกันต่อมธัยรอยด์ จาก Iodine-131 โดยการรับประทาน  Potassium  iodide tablet ซึ่งเป็น Stable iodine โดยผู้ใหญ่รับประทานเม็ดใหญ่ (130 mg) และเด็กรับประทานเม็ดเล็ก (65 mg)  วันละ  1 เม็ด โดยรับประทานก่อนเดินทางเข้าพื้นที่เสี่ยง 1 วัน และทานต่อวันละ 1 เม็ดทุกวันในระหว่างที่ยังอยู่ในพื้นที่ และควรออกนอกพื้นที่เสี่ยงทันทีเมื่อเสร็จภารกิจ  ถ้าไม่สามารถหา Potassium  iodide tablet ได้อาจรับประทานในรูปของสารละลาย Lugol’s  solution หรือ SSKI (Saturated  solution of potassium iodide ) โดยทานให้ได้ปริมาณวันละ 100 mg สำหรับผู้ใหญ่
หมายเหตุ :
- ไม่ควรรับประทาน Potassium iodide ดังกล่าวถ้าไม่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง เนื่องจากการได้รับไอโอดีนปริมาณสูงโดยไม่จำเป็นอาจมีผลข้างเคียงทำให้การทำงานของต่อมธัยรอยด์ผิดปกติได้
- การทา Betadine ที่บริเวณคอตามที่เป็นข่าวไม่มีประโยชน์อันใดในการป้องกันอันตรายของ   Iodine-131
- การรับประทานอาหารในพื้นที่เสี่ยง ควรเลือกรับประทานอาหารที่รู้แหล่งผลิตที่แน่นอน หรือนำอาหารสำเร็จรูปไปเอง
พ.อ. ณรงค์ชัย   ศรีอัศวอมร
                     ( Certified  Board of  Nuclear Medicine)
  รอง ผอ.กองรังสีกรรม รพ.พระมงกุฎเกล้า กรมแพทย์ทหารบก

วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2554

คู่มือHeat stroke (หน่วยสายแพทย์) ปรับปรุงใหม่ ปี 2553

ด้วยขณะนี้สภาพอากาศโดยทั่วไปของประเทศเข้าสู่ฤดูร้อน มีแนวโน้มอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่าทุก ๆ ปี ประกอบกับเป็นห้วงการฝึกภาคสนามและการฝึกทหารใหม่ของหน่วยต่าง ๆ ทำให้กำลังพลที่ทำการฝึกมีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคลมร้อนและเสียชีวิตได้
                เพื่อเป็นการป้องกันการสูญเสียและการเจ็บป่วยด้วยโรคลมร้อน ผวป.รพ.รร.จปร.ได้ส่งคู่มือ
พบ.การปฐมพยาบาลและการรักษาพยาบาลการเจ็บป่วยจากความร้อนสำรับหน่วยงานสายแพทย์ ฉบับปรับปรุงใหม่ ๒๕๕๓ มาเพื่อใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด รายละเอียดตามเอกสารที่แนบ ครับ
http://www.amed.go.th/rta_med/prevent/index.php?option=com_jdownloads&Itemid=6&task=summary&cid=5&catid=28

แนะนำการป้องกันโรคลมร้อนสำหรับหน่วยฝึก

ด้วยขณะนี้สภาพอากาศโดยทั่วไปของประเทศเข้าสู่ฤดูร้อน มีแนวโน้มอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่าทุก ๆ ปี ประกอบกับเป็นห้วงการฝึกภาคสนามและการฝึกทหารใหม่ของหน่วยต่าง ๆ ทำให้กำลังพลที่ทำการฝึกมีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคลมร้อนและเสียชีวิตได้
                เพื่อเป็นการป้องกันการสูญเสียและการเจ็บป่วยด้วยโรคลมร้อน ผวป.รพ.รร.จปร.ได้ส่งสำเนาประกาศ
พบ.เรื่องคำแนะนำสำหรับให้ผู้บังคับหน่วย,ผู้ฝึกและ จนท.ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน,การปฐมพยาบาลและการรักษาพยาบาลการเจ็บป่วยจากความร้อน มาเพื่อใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด รายละเอียดตามเอกสารที่แนบ
http://www.amed.go.th/rta_med/prevent/images/stories/prakat_khamsang/prakat/Prakat_khamnaenam_samrap_phubangkhap_nuai.pdf

วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2554

กระทรวงสาธารณสุขออกนโยบายใช้เกณฑ์ 3 ดี พัฒนามาตรฐานศูนย์เด็กเล็กทั่วประเทศให้เป็นศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค ภายในปี 2556

วันนี้ ผวป.รพ.รร.จปร.เสนอข่าว เรื่อง กระทรวงสาธารณสุข ออกนโยบายใช้เกณฑ์ 3 ดี พัฒนามาตรฐานศูนย์เด็กเล็กทั่วประเทศให้เป็นศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค ภายในปี 2556 รายละเอียดติดตามได้ท่นี่ครับ
http://www.moph.go.th/ops/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=37247

วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2554

อบรมการป้องกันและการปฐมพยาบาลผู้เจ็บป่วยจากโรคลมร้อนให้กับ นนร.ชั้นปีที่ ๔



เมื่อ ๑๐ มี.ค.๕๔ เวลา ๑๕๐๐ น.พันเอก ยรรยงค์  อิ่มสุวรรณ หก.ตรวจโรคผู้ป่วยนอก รพ.รร.จปร.และ พันโทพรชัย มาลัยพวง หน.ผวป.รพ.รร.จปร.อบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันและปฐมพยาบาลผู้เจ็บป่วยจากโรคลมร้อนให้กับ นนร.ชั้นปี่ที่ ๔ จำนวน ๑๒๐ นาย เพื่อนำไปใช้เมื่อจบการศึกษาไปปฏิบัติหน้าที่ในการเป็นผู้ฝึกทหารใหม่ในเดือน เม.ย.๕๔