วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สรุปข่าวสาธารณสุข ๒๒ ธ.ค.๕๓

http://www.moph.go.th/ops/iprg/news_pic/December22.pdf

สวัสดีปีใหม่ พ.ศ.๒๕๕๔..ไร้แอลกอฮอล์

ใกล้ช่วงเทศกาลปีใหม่ แผนกเวชกรรมป้องกัน ขอเชิญชวนพี่น้องชาว รพ.รร.จปร.ทุกท่านร่วมรณรงค์ สวัสดีปีใหม่...ไร้แอลกอฮอล์ เพื่อชีวิตของท่านของคนที่คุณรัก และบุคคลอื่นๆ ท่านอาจทำให้เขาเหล่านั้นต้องสูญเสียสิ่งที่เขารักและหวงแหนไป หากท่านดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้วมีอาการมึนเมา สามารถนำพาให้ท่านให้กระทำสิ่งใดๆ ที่ไม่สามารถจะคาดการณ์ได้ เช่น ขับขี่ยานพาหนะแล้วเกิดอุบัติเหตุ ลักทรัพย์ ปัญหาทางเพศข่มขืนแล้วฆ่า ทะเลาะวิวาท ไม่ใช่เพียงแต่ท่านเพียงคนเดียว หากเขาเหล่านั้นหรือตัวคุณ ต้องสูญเสีย พิการ กำพร้าพ่อแม่ สูญเสียคนที่เขารักที่สุดไป เพราะความมึนเมา มาร่วมกันรณรงค์ ลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในช่วงเทศกาลปีใหม่กันเถอะ หากท่านจำเป็นต้องดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็ควรดื่มในสถานที่พักของท่าน หรือหากท่านดื่มในที่ห้ามดื่มก็อาจจะมีความผิด มีโทษปรับหรือจำคุก หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งมีข้อห้ามที่พวกเราควรศึกษาหาความรู้  ดังนี้
สถานที่ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
มาตรา 27   ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณดังต่อไปนี้
1. วัดหรือสถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา
2. สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลและร้านขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา
3. สถานที่ราชการ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นร้านค้าหรือสโมสร
4. หอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก
5. สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
6. สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงหรือร้านค้าในบริเวณสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
7. สวนสาธารณะของทางราชการที่จัดไว้เพื่อการพักผ่อนของประชาชนโดยทั่วไป
8. สถานที่อื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สถานที่ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
มาตรา 31 ห้ามมิให้ผู้ใดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณดังต่อไปนี้
1. วัดหรือสถานที่สำหรับปฏิบัติกรรมทางศาสนา เว้นแต่เป็นส่นหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนา
2. สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลและร้านขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล
3. สถานที่ราชการ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล หรือสโมสรหรือการจัดเลี้ยงตามประเพณี
4. สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคลหรือสโมสร หรือการจัดเลี้ยงตามประเพณี หรือสถานศึกษาที่สอนการผสมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
5. สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงหรือร้านค้าในบริเวณสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
6. สวนสาธารณะของทางราชการที่จัดไว้เพื่อการพักผ่อนของประชาชนโดยทั่วไป
7. สถานที่อื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ
ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เวลาที่สามารถขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้
เวลา 11.00 นาฬิกา ถึง 14.00 นาฬิกา
และ เวลา 17.00 นาฬิกา ถึง 24.00 นาฬิกา
ข้อนี้ สำหรับผู้ประกอบการที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต้องพึงระวังในเรื่องของการลด แลก แจก แถม หรือขายพ่วงกับสินค้าอื่น
มาตรา 30 ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยวิธีหรือในลักษณะดังต่อไปนี้
1. ใช้เครื่องขายอัตโนมัติ
2. การเร่ขาย
3. การลดราคาเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการขาย
4. ให้หรือเสนอให้สิทธิในการเข้าชมการแข่งขัน การแสดง การให้บริการการชิงโชค การชิงรางวัล หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดเป็นการตอบแทนแก่ผู้ซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือแก่ผู้นำหีบห่อ หรือสลากหรือสิ่งอื่นใดเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาแลกเปลี่ยนหรือแลกซื้อ
5. โดยแจก แถม ให้ หรือแลกเปลี่ยนกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือกับสินค้าอื่นหรือการให้บริการอย่างอื่นแล้วแต่กรณี หรือแจกขจ่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในลักษณะเป็นตัวอย่างของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเป็นการจูงใจสาธารณชนให้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการกำหนดเงื่อนไขการขายในลักษณะที่เป็นการบังคับซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยทางตรงหรือทางอ้อม
6. โดยวิธีหรือลักษณะอื่นใดตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ
ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่บุคคลที่อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์หรือบุคคลที่มีอาการมึนเมาจนครองสติไม่ได้
มาตรา 32 ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม การโฆษณาหรือการประชาสัมพันธ์ใดๆ โดยผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทให้กระทำได้เฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม โดยไม่มีการปรากฎภาพสินค้า หรือบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เว้นแต่เป็นการปรากฎของภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นเท่านั้น ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ตรวจภายในรถ
1. ยางอะไหล่และแม่แรง ตรวจเช็กลมยาง และให้แน่ใจว่าแม่แรงและด้ามขันใช้งานได้ตามปกติ
2. เข็มขัดนิรภัย ตรวจเช็กว่าหัวเข็มขัดสามารถล็อกได้เรียบร้อย
3. แตรให้แน่ใจว่าดังดี
4. แผงควบคุมและอุปกรณ์ ตรวจดูให้แน่ใจว่าทำงานเป็นปกติ และที่ปัดน้ำฝนปัดได้เรียบร้อยสม่ำเสมอ
5. เบรก เช็กระยะฟรีขาเบรกอยู่ในค่ากำหนดหรือไม่
6. ฟิวส์สำรองที่เตรียมไว้ต้องมีขนาดค่ากระแสใช้ได้ตามที่กำหนดที่แผงฟิวส์ตรวจใต้ฝากระโปรงหน้า
7. ระดับน้ำหล่อเย็น ควรจะมีอยู่ถึงระดับสูงสุดในถังพักสำรอง
8. หม้อน้ำและท่อยาง ควรดูว่าด้านหน้าหม้อน้ำหมดจดไม่มีเศษวัสดุ หรือใบใม้ติดอยู่ ดูท่อยางว่ามีรอยแยกเปื่อย มีรอยฉีกขาดหรือหลวม
9. สายพานขับต่างๆ ต้องไม่มีรอยแตก เลอะน้ำมันหล่อลื่น และความตึงสายพานอยู่ในค่ากำหนด
10. แบตเตอรี่และสายไฟ ตรวจดูและเติมน้ำกลั่นให้ได้ระดับที่กำหนดดูเปลือกแบตเตอรี่ว่ามีร่องรอยเสียหายหรือไม่ ดูขั้วต่อและสายไฟว่าอยู่ในสภาพดีหรือไม่
11. ระดับน้ำมันเบรกและคลัตช์ ตรวจดูว่าระดับน้ำมันเบรกและคลัตช์อยู่ในระดับที่ถูกต้อง
12. ท่อน้ำเชื้อเพลิง ตรวจดูว่าท่อน้ำมันมีการรั่ว หลุดหรือไม่
ด้วยความปรารถนาดีจากแผนกเวชกรรมป้องกัน รพ.รร.จปร.

วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมเทิดพระเกียรติโครงการลดลูกน้ำลดไข้เลือดออกและบำบัดอีเอ็มในแหล่งน้ำ


เมื่อ ๒๒ ธ.ค.๕๓ พ.ท.พรชัย  มาลัยพวง หน.ผวป.รพ.รร.จปร.ชี้แจงการใช้จุลินทรีย์อีเอ็มให้กำลังพลทราบ
 พ.อ.ธนา  สุรารักษ์ ผอ.รพ.รร.จปร. เป็นประธานในการดำเนินงานกิจกรรมเทิดพระเกียรติ โครงการลดลูกน้ำลดไข้เลือดออกและใช้อีเอ็มบำบัดน้ำเสียในแหล่งน้ำ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา ๗ รอบ พ.ศ.๒๕๕๔
            ผอ.รพ.รร.จปร.และข้าราชการ รพ.รร.จปร.  เทอีเอ็มตามร่องระบายน้ำรอบ รพ.รร.จปร.


                               ร่วมกันโยนอีเอ็มบอลลงบ่อน้ำหน้า รพ.รร.จปร. เพื่อบำบัดน้ำเสีย


                        อสม.รพ.รร.จปร.ร่วมกันสำรวจแหล่งและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
                        อสม. เทอีเอ็มลงในแหล่งนำหน้าบ่อบำบัดน้ำเสีย รร.จปร.

                       อสม.สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ บ้านพักในพื้นที่ รร.จปร.

อสม.แจกจ่ายทรายอะเบตให้กับแม่บ้าน

วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วันรณรงค์สวัสดีปีใหม่ไร้แอลกอฮอล์ ๒๗ - ๓๐ ธ.ค.๕๓

ใกล้ช่วงเทศกาลปีใหม่ กระทรวงสาธารณสุขขอเชิญชวนพี่น้องคนไทยทุกท่านร่วมรณรงค์ สวัสดีปีใหม่...ไร้แอลกอฮอล์ เพื่อชีวิตของท่านของคนที่คุณรัก และบุคคลอื่นๆ ท่านอาจทำให้เขาเหล่านั้นต้องสูญเสียสิ่งที่เขารักและหวงแหนไป หากท่านดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้วมีอาการมึนเมา สามารถนำพาให้ท่านให้กระทำสิ่งใดๆ ที่ไม่สามารถจะคาดการณ์ได้ เช่น ขับขี่ยานพาหนะแล้วเกิดอุบัติเหตุ ลักทรัพย์ ปัญหาทางเพศข่มขืนแล้วฆ่า ทะเลาะวิวาท ไม่ใช่เพียงแต่ท่านเพียงคนเดียว หากเขาเหล่านั้นหรือตัวคุณ ต้องสูญเสีย พิการ กำพร้าพ่อแม่ สูญเสียคนที่เขารักที่สุดไป เพราะความมึนเมา มาร่วมกันรณรงค์ ลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในช่วงเทศกาลปีใหม่กันเถอะ หากท่านจำเป็นต้องดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็ควรดื่มในสถานที่พักของท่าน หรือหากท่านดื่มในที่ห้ามดื่มก็อาจจะมีความผิด มีโทษปรับหรือจำคุก หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งมีข้อห้ามที่ท่านควรศึกษาหาความรู้ ดังนี้
สถานที่ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
มาตรา 27   ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณดังต่อไปนี้
1. วัดหรือสถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา
2. สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลและร้านขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา
3. สถานที่ราชการ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นร้านค้าหรือสโมสร
4. หอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก
5. สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
6. สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงหรือร้านค้าในบริเวณสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
7. สวนสาธารณะของทางราชการที่จัดไว้เพื่อการพักผ่อนของประชาชนโดยทั่วไป
8. สถานที่อื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สถานที่ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
มาตรา 31 ห้ามมิให้ผู้ใดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณดังต่อไปนี้
1. วัดหรือสถานที่สำหรับปฏิบัติกรรมทางศาสนา เว้นแต่เป็นส่นหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนา
2. สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลและร้านขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล
3. สถานที่ราชการ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล หรือสโมสรหรือการจัดเลี้ยงตามประเพณี
4. สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคลหรือสโมสร หรือการจัดเลี้ยงตามประเพณี หรือสถานศึกษาที่สอนการผสมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
5. สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงหรือร้านค้าในบริเวณสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
6. สวนสาธารณะของทางราชการที่จัดไว้เพื่อการพักผ่อนของประชาชนโดยทั่วไป
7. สถานที่อื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ
ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เวลาที่สามารถขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้
เวลา 11.00 นาฬิกา ถึง 14.00 นาฬิกา
และ เวลา 17.00 นาฬิกา ถึง 24.00 นาฬิกา
ข้อนี้ สำหรับผู้ประกอบการที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต้องพึงระวังในเรื่องของการลด แลก แจก แถม หรือขายพ่วงกับสินค้าอื่น
มาตรา 30 ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยวิธีหรือในลักษณะดังต่อไปนี้
1. ใช้เครื่องขายอัตโนมัติ
2. การเร่ขาย
3. การลดราคาเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการขาย
4. ให้หรือเสนอให้สิทธิในการเข้าชมการแข่งขัน การแสดง การให้บริการการชิงโชค การชิงรางวัล หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดเป็นการตอบแทนแก่ผู้ซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือแก่ผู้นำหีบห่อ หรือสลากหรือสิ่งอื่นใดเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาแลกเปลี่ยนหรือแลกซื้อ
5. โดยแจก แถม ให้ หรือแลกเปลี่ยนกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือกับสินค้าอื่นหรือการให้บริการอย่างอื่นแล้วแต่กรณี หรือแจกขจ่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในลักษณะเป็นตัวอย่างของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเป็นการจูงใจสาธารณชนให้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการกำหนดเงื่อนไขการขายในลักษณะที่เป็นการบังคับซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยทางตรงหรือทางอ้อม
6. โดยวิธีหรือลักษณะอื่นใดตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ
ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่บุคคลที่อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์หรือบุคคลที่มีอาการมึนเมาจนครองสติไม่ได้
มาตรา 32 ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม การโฆษณาหรือการประชาสัมพันธ์ใดๆ โดยผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทให้กระทำได้เฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม โดยไม่มีการปรากฎภาพสินค้า หรือบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เว้นแต่เป็นการปรากฎของภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นเท่านั้น ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ตรวจภายในรถ
1. ยางอะไหล่และแม่แรง ตรวจเช็กลมยาง และให้แน่ใจว่าแม่แรงและด้ามขันใช้งานได้ตามปกติ
2. เข็มขัดนิรภัย ตรวจเช็กว่าหัวเข็มขัดสามารถล็อกได้เรียบร้อย
3. แตรให้แน่ใจว่าดังดี
4. แผงควบคุมและอุปกรณ์ ตรวจดูให้แน่ใจว่าทำงานเป็นปกติ และที่ปัดน้ำฝนปัดได้เรียบร้อยสม่ำเสมอ
5. เบรก เช็กระยะฟรีขาเบรกอยู่ในค่ากำหนดหรือไม่
6. ฟิวส์สำรองที่เตรียมไว้ต้องมีขนาดค่ากระแสใช้ได้ตามที่กำหนดที่แผงฟิวส์ตรวจใต้ฝากระโปรงหน้า
7. ระดับน้ำหล่อเย็น ควรจะมีอยู่ถึงระดับสูงสุดในถังพักสำรอง
8. หม้อน้ำและท่อยาง ควรดูว่าด้านหน้าหม้อน้ำหมดจดไม่มีเศษวัสดุ หรือใบใม้ติดอยู่ ดูท่อยางว่ามีรอยแยกเปื่อย มีรอยฉีกขาดหรือหลวม
9. สายพานขับต่างๆ ต้องไม่มีรอยแตก เลอะน้ำมันหล่อลื่น และความตึงสายพานอยู่ในค่ากำหนด
10. แบตเตอรี่และสายไฟ ตรวจดูและเติมน้ำกลั่นให้ได้ระดับที่กำหนดดูเปลือกแบตเตอรี่ว่ามีร่องรอยเสียหายหรือไม่ ดูขั้วต่อและสายไฟว่าอยู่ในสภาพดีหรือไม่
11. ระดับน้ำมันเบรกและคลัตช์ ตรวจดูว่าระดับน้ำมันเบรกและคลัตช์อยู่ในระดับที่ถูกต้อง
12. ท่อน้ำเชื้อเพลิง ตรวจดูว่าท่อน้ำมันมีการรั่ว หลุดหรือไม่

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คำแนะนำ เรื่องการป้องกันโรคโปลิโอ

โรคโปลิโอ และการป้องกันโรค
 

v  ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการกวาดล้างโรคโปลิโอแล้ว
     โดยพบผู้ป่วยรายสุดท้าย เมื่อ เมษายน 2540 จากการทุ่มเทในการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่และความร่วมมือของประชาชนในการพาบุตรหลานมารับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยอาจเกิดการระบาดของโรคได้อีก ซึ่งถ้าเกิดการระบาดประเทศไทยจะต้องใช้งบประมาณและบุคลากรจำนวนมากในการกวาดล้างโรคโปลิโอ
v  โรคโปลิโอยังมีระบาดอยู่ในอีก 4 ประเทศ และมีการแพร่ระบาดเข้าไปในอีกหลายประเทศ
     ประเทศที่มีโปลิโอเป็นโรคประจำถิ่น ได้แก่ อินเดีย ไนจีเรีย ปากีสถานและอัฟกานิสถาน ในภาวะที่การเดินทางไปมาระหว่างประเทศมีความสะดวกรวดเร็ว ทำให้เชื้อโปลิโอจากประเทศที่ยังมีการระบาด แพร่กระจายไปสู่ประเทศที่ปลอดจากโรคโปลิโอแล้ว จนเกิดการระบาดกลับมาใหม่ได้ ตัวอย่างที่ชัดเจนคือประเทศอินโดนีเซีย พบโรคโปลิโอกลับมาอีกหลังจากปลอดโรคมานาน 10 ปี และอีกกว่า 22 ประเทศ มีการระบาดของโรคกลับมาใหม่โดยการแพร่เชื้อมาจาก 4 ประเทศ ที่กล่าวมาปัญหาการระบาดมีสาเหตุสำคัญมาจากการที่มีเด็กที่ยังไม่มีภูมิต้านทานโรคอยู่ ทำให้มีโอกาสได้รับเชื้อและแพร่กระจายเชื้อไปยังเด็กอื่นๆ ที่ยังไม่มีภูมิต้านทาน หรือภูมิต้านทานโรคที่ไม่สูงพอ ใน พ.ศ. 2553 สถานการณ์การเกิดโรคโปลิโอยังไม่น่าวางใจ เนื่องจากมีปัญหาการระบาดข้ามประเทศจากประเทศที่ยังมีโรคโปลิโอเป็นโรคประจำถิ่นไปยังประเทศที่ปลอดโรคแล้ว โดยพบการระบาดกลับมาใหม่ในประเทศทาจิกิสถาน ภายหลังพบผู้ป่วยโปลิโอรายสุดท้ายเมื่อปี 2540 (13 ปีผ่านมา) เป็นจำนวนมาก ทำให้ประเทศไทยที่ไม่พบผู้ป่วยโปลิโอมาแล้วกว่า 13 ปีเช่นกัน มีความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดได้ 
v  ประเทศไทยต้องรณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอทุกปี ทั้งๆ ที่ไม่มีผู้ป่วยโปลิโอแล้ว
          การรณรงค์ยังจำเป็นในประเทศที่เสี่ยงต่อการได้รับเชื้อ เนื่องจากประเทศใกล้เคียงยังพบมีการระบาดของโรคอยู่  ประกอบ
  กับการเดินทางไปมาระหว่างประเทศเป็นไปได้ง่าย จึงเป็นโอกาสที่อาจมีการนำเชื้อเข้ามาแพร่ให้เด็กไทยได้  อีกทั้งยังมีเด็กต่างด้าว 
  อยู่มากมาย ซึ่งเด็กเหล่านี้หลบซ่อน หรือย้ายที่อยู่บ่อย จึงได้รับวัคซีนไม่ครบถ้วน เมื่อได้รับเชื้อแล้วจะแพร่กระจายสู่เด็กไทยได้   
  ดังนั้น  กลไกสำคัญของการรณรงค์คือให้วัคซีนพร้อมกันวันเดียวแก่เด็ก  เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้สูง และกวาดล้างเชื้อ
  โปลิโอให้หมดไปอย่างรวดเร็ว เพื่อรักษาภาวะปลอดโรคไว้ จนกว่าจะกวาดล้างโรคโปลิโอได้หมดทั่วโลก 
 
v  เราสามารถช่วยป้องกันไม่ให้โรคโปลิโอกลับมาแพร่ระบาดได้อีก โดย
ช่วยกันเฝ้าระวังโรค : ถ้าพบเห็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี มีอาการแขนขาอ่อนแรง ควรแนะนำให้รีบไปพบแพทย์ ที่โรงพยาบาล หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่สถานีอนามัย หรือศูนย์บริหารสาธารณสุขที่ใกล้บ้าน เพื่อให้มีการตรวจหาเชื้อโปลิโอ และหาสาเหตุอื่นต่อไป  
ช่วยกันป้องกันโรค :  ตรวจสอบดูประวัติรับวัคซีนของบุตรหลานในสมุดบันทึกสุขภาพว่าได้รับครบถ้วนตามกำหนดหรือไม่ โดยปกติเด็กทุกคนจะได้รับสมุดบันทึกฯ เมื่อแรกคลอด และใช้เป็นประวัติสุขภาพติดตัวทุกครั้งที่โรงพยาบาลเพื่อรับวัคซีนป้องกันโรคตามกำหนดนัด หากไม่มั่นใจว่าบุตรหลานได้รับวัคซีนครบหรือไม่ควรปรึกษาแพทย์ พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อจะได้นักหมายมารับวัคซีนให้ครบถ้วน หรือหากเป็นช่วงรณรงค์ประจำปี ในเดือนธันวาคมและมกราคม ก็สามารถมาปรึกษาและขอรับวัคซีนได้

v  โรคโปลิโอ เดิมเรียกว่า โรคไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส เชื้อจะเข้าไปในระบบประสาท และเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการอัมพาตตามมา เชื้อไวรัสโปลิโอสามารถก่อให้เกิดโรคได้ในคนทุกกลุ่มอายุแต่มักจะเกิดโรคในกลุ่มอายุต่ำกว่า 5 ปี มากที่สุด เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ยังไม่มีภูมิต้านทานต่อโรค หรือมีภูมิต้านทานไม่เพียงพอ ส่วนในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ มักจะมีภูมิต้านทานไปตลอดชีวิต
v  เชื้อไวรัสจะเข้าร่างกายทางปาก  โดยกินเชื้อที่ติดไปกับมือ หรืออาหารซึ่งเชื้อไวรัสจะผ่านออกมากับอุจจาระของผู้ป่วย หรือผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการเชื้อไวรัสจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนในหลอดอาหารส่วนบนและลำไส้ ต่อมาจะเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง เมื่อเชื้อเพิ่มจำนวนมากขึ้น จะเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ป่วย จากนั้นเชื้อบางส่วนจะเข้าสู่ระบบประสาท ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ถ้าเป็นมากเซลล์ประสาทถูกทำลาย ก็จะเป็นอัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก และจะลีบเล็กลงในที่สุด
v  อาการของโรค คือ ผู้ป่วยมักจะมีไข้ อาจมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เจ็บคอ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ บางรายปวดศีรษะมาก มีอาการตึงกล้ามเนื้อที่คอด้านหลัง ตามลำตัวและขา ผู้ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรงจะเริ่มด้วยอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ตามด้วยการมีอัมพาตของกล้ามเนื้อที่แขนหรือขา ทำให้เกิดกล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้
v  สร้างภูมิต้านทานตั้งแต่เด็กเพื่อป้องกันโรค ด้วยการให้วัคซีนป้องกันโรค เป็นการป้องกันโรคที่ดีที่สุด โดยนำเด็กมารับวัคซีน พร้อมกับวัคซีนชนิดอื่นๆ ตามกำหนดการให้วัคซีนปกติที่โรงพยาบาลนัดไว้ให้ครบอย่างน้อย 3 ครั้ง เมื่ออายุครบ 1 ปี และจะได้รับวัคซีนกระตุ้นอีก 2 ครั้ง เมื่ออายุ 1 ปีครึ่ง และ 4 ปี และให้วัคซีนเสริมอีก 2 ครั้ง ในช่วงรณรงค์เดือนธันวาคม และมกราคม ของทุกปี
ล้างมือให้สะอาด ป้องกันได้ทุกโรค ให้เด็กล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร หลังขับถ่าย หรือพยายามล้างมือให้เด็กด้วยน้ำสบู่บ่อยๆ ดูแลการขับถ่ายและกำจัดอุจจาระเด็กให้ถูกสุขลักษณะโดยถ่ายอุจจาระลงส้วมทุกครั้ง และรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่สะอาด จะช่วยป้องกันโรคที่เกิดจากการได้รับเชื้อที่เข้าทางปากได้
v  การมารับวัคซีนในช่วงที่มีการรณรงค์ฯ จะช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรคให้แก่เด็ก
โดยปกติกระทรวงสาธารณสุขจะกำหนดให้มีการรณรงค์เป็นประจำทุกปี ปีละ 2 ครั้ง ช่วงเดือนธันวาคม และมกราคม เพื่อให้เด็กทุกคนมีภูมิต้านทานโรคเพิ่มขึ้น ทำให้เชื้อโปลิโอไม่สามารถอยู่ในร่างกายเด็ก และจะถูกกำจัดออกไป
v  ข้อแนะนำเกี่ยวกับการรับวัคซีน
    ข้อควรระวังในการรับวัคซีน
-       ไม่ให้วัคซีนในเด็กที่นอนป่วยอยู่ในโรงพยาบาล เด็กที่ป่วย หรือมีคนป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน หรือโรคมะเร็ง
-       วัคซีนนี้เป็นชนิดกินไม่ต้องฉีดให้เจ็บ ไม่มีไข้ อาการข้างเคียงอื่นๆ พบได้น้อยถ้าก่อนรับวัคซีนเด็กมีอาการป่วยธรรมดา เช่นเป็นไข้ ไข้หวัด ท้องเสีย ก็รับวัคซีนได้ ส่วนเด็กที่ติดเชื้อ เอช ไอ วี สามารถให้วัคซีนชนิดกินได้เหมือนเด็กปกติ ไม่ว่าจะมีอาการของโรคเอดส์แล้วหรือไม่ก็ตาม
-       ได้รับวัคซีนโปลิโอหลายครั้งไม่เป็นอันตราย เด็กบางคนแม้จะได้รับวัคซีนมาหลายครั้งแต่อาจยังมีระดับภูมิต้านทานโรคที่ไม่สูงพอที่จะป้องกันโรคได้ และการได้รับวัคซีนหลายครั้งก็ยังไม่มีอันตรายแต่อย่างใดแต่กลับจะยิ่งช่วยกระตุ้นระดับภูมิคุ้มกันโรคให้สูงขึ้น
-       ถ้าเด็กอยู่ในพื้นที่เสี่ยงที่อาจได้รับเชื้อโปลิโอ โดยเป็นเด็กเพิ่งคลอด หรือยังไม่ถึงวันที่หมอนัดรับวัคซีนครั้งแรก ก็ควรพาเด็กไปหยอดวัคซีน เพื่อป้องกันเด็กจากการได้รับเชื้อ และเป็นโอกาสดีที่เด็กจะได้รับวัคซีนป้องกันเร็วขึ้น
v  ค่าใช้จ่าย : ฟรี
***********************

 

รณรงค์หยอดโปลิโอ ปี ๕๓

กระทรวงสาธารณสุขรณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอ ประจำปี 2553  รพ.รร.จปร.ขอประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่ากระทรวงสาธารณสุข ได้รณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอแก่เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี พร้อมกันทั่วประเทศประจำปี 2553 เพื่อป้องกันเชื้อโปลิโอที่อาจกลับมาใหม่ โดยกำหนดรณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอ 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 วันพุธที 15 ธันวาคม 2553 และครั้งที่ 2 วันพุธที่ 19 มกราคม 2554.ในเวลาราชการ ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการกวาดล้างโรคโปลิโอ โดยพบผู้ป่วยรายสุดท้ายเมื่อเดือนเมษายน 2540 จากการทุ่มเทของเจ้าหน้าที่และความร่วมมือของประชาชนในการพาบุตรหลานมารับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค อย่างไรก็ตามประเทศไทยอาจเกิดการระบาดของโรคอีกได้ หากเกิดการระบาด ดังนั้น การรณรงค์ยังคงมีความจำเป็น โดยเฉพาะถ้าพบเห็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี มีอาการแขนขาอ่อนแรง ควรแนะนำให้รีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล หรือสถานพยาบาล หรือ สถานีอนามัยใกล้บ้าน เพื่อให้มีการตรวจหาเชื้อโปลิโอหรือสาเหตุอื่น

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

งานโครงการหัวใจสัญจร เพื่อประชาชน

พล.ท.ปริญญา  สมสุวรรณ ผบ.รร.จปร.เป็นประธานพิธีเปิดโครงการหัวใจสัญจร เพื่อประชาชน
ของศูนย์โรคหัวใจ รพ.พระมงกฎเกล้า ที่บริเวณ รพ.รร.จปร. เมื่อ ๑๘ พ.ย.๕๓
                                                    ผู้เข้าร่วมโครงการเตรียมเจาะเลือด
                                          ลงทะเบียน คัดกรองผู้ป่วยก่อนรับการตรวจโรคหัวใจ
                                   พ.ท.พรชัย  มาลัยพวง หน.ผวป.รพ.รร.จปร.ร่วมตรวจโรคหัวใจ

                              ผอ.รพ.รร.จปร.ถ่ายภาพร่วมกับ ผบ.รร.จปร.และคณะทำงานโครงการ
            คณะทำงานจัดกิจกรรมแนะนำให้สุขศึกษาการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคหัวใจ
                         ผอ.รพ.รร.จปร.รับมอบรูปหล่อท้าวหิรัญพนาสูร จากคณะทำงานโครงการ
                  เด็กนักเรียน จาก รร.วัดสุตธรรมารามกลุ่มเสี่ยงพบแพทย์รับการตรวจโรคด้วย

           มุมสวย...สวย...ด้วยฝีมือ จ.ส.อ.อนุศักดิ์  ทองสุวรรณ  ส.เวชกรรมป้องกัน เช่นเคยครับ


วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ตรวจร่างกายและฉีดวัคซีนให้ทหารใหม่ ผลัดที่ ๒/๕๓

                             พ.อ.ธนา  สุรารักษ์ ผอ.รพ.รร.จปร. ตรวจร่างกายทหารใหม่ ผลัดที่ ๒/๕๓
                                                 จำนวน ๒๖๖ คน เมื่อ ๑๑ พ.ย.๕๓ ที่ รพ.รร.จปร.
                                                           ชั่งน้ำหนักวัด/ความดัน

                                            ฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก ให้กับทหารใหม่

                                                            เจาะเลือดตรวจ
                                                        บริจาคเลือดด้วยครับ

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อบรมโรคเอดส์ทหารใหม่ ผลัดที่ ๒/๕๓

 จ.ส.ท.โกมิน  ลาวชัย นายสิบเวชกรรมป้องกัน อบรมการป้องกันโรคเอดส์  ให้กับทหารใหม่ ผลัดที่ ๒/๕๓ ที่ห้องอบรม ร้อย ๓ พัน ร.รร.จปร. เมื่อ ๑๐ พ.ย.๕๓

พ.ท.จักรกฤษณ์  โมรา หน.แผนกพยาธิวิทยา รพ.รร.จปร.แนะนำการกรอกแบบสอบถามตามโครงการวิจัยการเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงการติดเชื้อเอช ไอวี ในพลทหารใหม่ เมื่อ ๑๐ พ.ย.๕๓

                จ.ส.อ.ดุสิต กลิ่นหอม จากงานประกันสุขภาพถ้วนหน้าชี้แจงสิทธิให้ทหารใหม่ทราบเรื่องสิทธิโครงการประกันสุขภาพในทหารใหม่
                                              ทหารใหม่ผลัดที่ ๒/๕๓ กรอกแบบสอบถาม

พ.ท.พรชัย  มาลัยพวง หน.แผนกเวชกรรมป้องกัน กล่าววัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมอบรมให้กับทหารใหม่ ใน ๑๐ พ.ย.๕๓

วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อบรมป้องกันโรคลมร้อนให้ครูฝึกทหารใหม่

 พ.ท.พรชัย มาลัยพวง หน.ผวป.รพ.รร.จปร.และ จ.ส.ท.โกมินลาวชัย อบรมให้ความรู้การป้องกันโรคลมร้อนและการปฐมพยาบาลผู้ป่วยเจ็บจากโรคลมร้อน ให้กับครูฝึกทหารใหม่ เมื่อ ๒๐ ต.ค.๕๓ เวลา ๑๓๐๐ - ๑๕๐๐ น.ที่ห้องอบรม ร้อย ๒ พัน ร.รร.จปร.


วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การป้องกันโรคฉี่หนู

โรคเลปโตสไปโรซิส
(LEPTOSPIROSIS)
วินัย  หมวกพิมาย

โรคเลปโตสไปโรซิส เป็นกลุ่มอาการของโรคจากเชื้อแบคทีเรียที่ติดต่อมาจากสัตว์หลายชนิด
ก่ออาการหลากหลายขึ้นกับชนิดของเชื้อ
(Serovas) และปริมาณเชื้อที่ได้รับการติดเชื้อมีได้ตั้งแต่ไม่ปรากฏอาการ  มีอาการอย่างอ่อน  จนถึงอาการรุนแรง หรือเสียชีวิต คนที่ติดเชื้อในพื้นที่โรคนี้เป็นโรคประจำถิ่น  ส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการหรือแสดงอาการอย่างอ่อน
1. ลักษณะของเชื้อ
เชื้อ Leptospira เป็นแบคทีเรียชนิดสไปโรซิส (spirochaete) มีลักษณะเป็นเส้นเกลียวบาง ขนาดกว้างประมาณ 0.1 um ยาว 6-20 um เคลื่อนไหวได้รวดเร็วโดยการหมุน (Spinning) หรือการโค้งงอ (Bending) โดยมากปลายทั้งสองข้างหรือข้างใดข้างหนึ่งจะโค้งหรืองอเป็นขอแต่อาจพบเชื้อที่เป็นเส้นตรง  ซึ่งมักจะหมุนเคลื่อนไหวได้ช้ากว่า เชื้อ Leptospira มีเยื่อหุ้ม (Membrane) 3-5 ชั้นเชื้อนี้หากตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์พื้นมืดจะเห็นเป็นเส้นเล็ก ๆ เคลื่อนไหวรวดเร็วแต่อาจสับสนกับสิ่งปลอมปนอื่น ๆ ได้การตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์อีเล็กตรอน Election microscope จะเห็นเป็นเส้นเกลียวชัดเจน
1.2 การแบ่งกลุ่มเชื้อ
เชื้อ Leptospira แบ่งออกเป็น 2 Species ได้แก่เชื้อที่อยู่อิสระในภาวะแวดล้อม Freeliving Saprophyte คือ Leptospira biflexa ที่พบได้ในน้ำจืดหรืออาจพบในน้ำทะเล เป็นเชื้อที่ไม่ทำให้เกิดโรคในคนและสัตว์อื่น ๆ ส่วนเชื้อที่ที่ก่อโรค (Pathogenic) คือ Leptospira interrogans ปัจจุบันมีการศึกษาเพื่อจะแบ่งกลุ่มเชื้อโดยอาศัยความสัมพันธ์ของ DNA ในสหรัฐอเมริกาสำหรับการแยกโดยวิธี  ซีโรโลยี่ แบ่งเชื้อได้เป็น 23 กลุ่ม Supgroups


รูปเชื้อเลปโตสไปโรซิส




                 



2. การเกิดโรค
พบได้ทั่วโลก (ยกเว้นขั้วโลก) พบได้ทั้งในเขตเมืองและเขตชนบททั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศ ที่กำลังพัฒนาเนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่มีสัตว์หลายชนิดทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่าเป็นแหล่งรังโรคที่ปล่อยเชื้อออกมากับปัสสาวะ คนอาจติดโดยการสัมผัสโดยตรงกับปัสสาวะสัตว์หรือโดยทางอ้อมจากการสัมผัสน้ำหรือดินหรือทรายปนเปื้อนเชื้อ

2.1 กลุ่มเสี่ยง
                คนทุกกลุ่มอายุทั้งเพศชายและเพศหญิงมีความไวต่อการติดเชื้อไม่แตกต่างกันแต่ถ้าเป็นการติดเชื้อจากการประกอบอาชีพมักเป็นคนในวัยทำงานและเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง
                2.1.1 กลุ่มอาชีพ  ได้แก่คนที่มีโอกาสสัมผัสกับสัตว์หรือปัสสาวะสัตว์อยู่เสมอ ๆ
-                    เกษตรกร เช่น ชาวนา ชาวไร่ คนงานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ (โค สุกร ปลา) คนจับหนูขาย  ในกลุ่มนี้มีรายงานการติดโรคในชาวนามากที่สุดจากการที่ต้องแช่น้ำเป็นเวลานาน  ปัจจัยเสี่ยงได้แก่ ความหนาแน่นของหนูและปริมาณน้ำฝนช่วงเก็บเกี่ยว
-                    กรรมกร เช่นคนงานขุดลอกท่อระบายน้ำ หรือเหมืองแร่ โรงฆ่าสัตว์ ฯล
-                    กลุ่มอื่น ๆ ได้แก่สัตวแพทย์  นักวิทยาศาสตร์ในห้องทดลอง ทหาร ตำรวจ ที่ปฏิบัติหน้าที่ตามป่าเขา
                -  ประชาชนทั่วไป มีประวัติย่ำหรือแช่น้ำท่วมขัง ผู้ที่บ้านมีหนูมากและบริเวณบ้านอับชื้นแสงสว่างส่องไม่ถึง  บริเวณบ้านมีแอ่งน้ำเฉอะแฉะ ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ เช่น สุนัข หนู











3.แหล่งรังโรค 
                        ทั้งสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงหลายชนิดเป็นแหล่งรังโรค ซึ่งเชื้อแต่ละชนิดเป็นแหล่งรังโรคซึ่งแต่ละชนิด (Serovars) มักมีสัตว์ที่เป็นแหล่งรังโรคหลัก เช่น หนู,สุกร,โค,กระบือ,สุนัข และแรกคูน
-                    สัตว์ที่เป็นแหล่งรังโรค (Renal tubule) และสามารถปล่อยเชื้อออกมากับปัสสาวะ (Leptospira) ได้เป็นเวลานานหลายสัปดาห์หลายเดือนหรืออาจตลอดชีวิตของมันทำให้มีการแพร่ติดต่อของเชื้อในฝูงสัตว์  จากการเลียกินปัสสาวะ  การผสมพันธุ์, การสัมผัสปัสสาวะในสิ่งแวดล้อม  นอกจากนี้การถ่ายทอดเชื้อจากแม่ไปสู่ลูกโดยผ่านทางรกหรือขณะคลอดก็อาจเกิดขึ้นได้ด้วย

พาหะนำเชื้อ

                                   
หนู


ผลการตรวจโรคเลปโตสไปโรซิสในฝูงสัตว์ที่พบปัญหาแท้ง ปี พ.. 2540

ชนิดสัตว์
เปอร์เซ็นต์แอนติบอดิย์
ชนิดของเชื้อ (serovars)
จังหวัด

กระบือ

31%
(31/100)
ส่วนมากพบ   L. javanica และ
                       L. hyos
ส่วนน้อยพบ   L Pomona
                       L. pyrogenes
                       L wolffi  และ
                       L bataviae
.สุรินทร์

โค

28.25%
(241/853)
ส่วนมากพบ   L. hyos
                       L. javaniga
                       L. Pomona
                       L. pyrogenes   
              และ L. wolffi
ส่วนน้อยพบ
            Licterohaemorrhagiae
            L.grippotyphosa

. ชัยภูมิ
. ลพบุรี
. สระบุรี

แพะ,แกะ

27.35%
(67/245)
L. ictrohaemorrhagiae และ
L. akiyami
.ระยอง
. ราชบุรี

สุกร

2.15%
(8/372)
L. grippotyphosa และ
L. ictrohaemorrhagiae
.สระแก้ว จ.นครนายก
.ราชบุรี จ.สุพรรณบุรี





ชนิดสัตว์
เปอร์เซ็นต์แอนติบอดิย์
ชนิดของเชื้อ (serovars)
จังหวัด

กระบือ

31%
(31/100)
ส่วนมากพบ   L. javanica และ
                       L. hyos
ส่วนน้อยพบ   L Pomona
                       L. pyrogenes
                       L wolffi  และ
                       L bataviae

.สุรินทร์

โค

28.25%
(241/853)
ส่วนมากพบ  L. hyos
                      L. javaniga
                      L. Pomona
                      L. pyrogenes  
             และ L. wolffi
ส่วนน้อยพบ
            Licterohaemorrhagiae
            L.grippotyphosa

. ชัยภูมิ
. ลพบุรี
. สระบุรี

แพะ,แกะ

27.35%
(67/245)
            L. ictrohaemorrhagiae
และ    L. akiyami
.ระยอง
. ราชบุรี

สุกร

2.15%
(8/372)
              L. grippotyphosa
และ      L. ictrohaemorrhagiae
.สระแก้ว จ.นครนายก
.ราชบุรี จ.สุพรรณบุรี

ตรวจโดยวิธี  Microscoscopic Agglutination Test (MAT) ใช้แอนติเจน 12 ซิโรวาร์ ที่เฝ้าระวังในช่วงก่อนปี  2541

4. การติดต่อของโรค
เชื้อถูกปล่อยออกมากับปัสสาวะสัตว์ที่ติดเชื้อและปนเปื้อนอยู่ตามน้ำ ดิน ทราย หรือพืชผัก ที่เปียกชื้น  เชื้อสามารถไชเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง รอยแผล และรอยขีดข่วน เยื่อบุของปาก ตา จมูก  นอกจากนี้ยังสามารถไชเข้าทางผิวหนังปกติที่เปียกชุมเนื่องจากแช่น้ำอยู่นาน  คนมักติดเชื้อโดยอ้อมขณะย่ำโคลน  แช่น้ำหรือว่ายน้ำหรืออาจติดโรคโดยตรงจากการสัมผัสเชื้อในปัสสาวะสัตว์หรือเนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนเชื้อ

5. พยาธิกำเนิด
เชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยการกินอาหารหรือน้ำหรือการหายใจเอาละอองนิวเคลียสจากของเหลวที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป (แต่พบน้อย) เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเข้ากระแสเลือดภายใน 24
ชั่วโมง แล้วจะเพิ่มจำนวนได้สูงสุดภายใน
2-4 วัน (เป็นช่วงที่มีไข้สูง) แล้วกระจายไปตามอวัยวะต่าง ๆ เช่น ลำไส้ เยื่อหุ้มสมอง ปอด หัวใจ โดยมักไปที่ตับ ไต ทำให้เกิดการอักเสบและเนื้อตายตามอวัยวะเหล่านั้น  รายที่อาการรุนแรงอาจพบภาวะเลือดออกที่ลำไส้ ปอด ตับวาย ไตวาย ถึงขั้นเสียชีวิตได้ ในระยะ 1-2 สัปดาห์หลังป่วยร่างกายจะเริ่มสร้างภูมิต้านทานโรค ทำให้เชื้อถูกกำจัดออกไปแต่เชื้อส่วนหนึ่งจะหลบเข้าไปอยู่ในไตและเพิ่มจำนวนมากขึ้นแล้วถูกขับออกมากับปัสสาวะเป็นครั้งคราวหรือต่อเนื่องกัน ซึ่งจำนวนและระยะเวลาที่เชื้อถูกขับออกมากน้อยเท่าใดจะสัมพันธ์กับชนิดสัตว์และชนิดของเชื้อ (Serovars) ปริมาณของเชื้อที่ถูกขับออกมาอาจมากถึง 100 ล้านตัวต่อปัสสาวะ 1 มิลลิลิตร
6. ระยะฟักตัวของโรค  ระยะฟักตัวของโรคโดยเฉลี่ยประมาณ 10 วัน หรืออยู่ในช่วง
4-19 วัน (อาจเร็วภายใน 2 วันหรือนานถึง 26 วัน)
7. ระยะติดต่อของโรค ความเสี่ยงจากการติดต่อจากคนถึงคนเกิดขึ้นได้น้อยมาก
มีรายงานเพียงครั้งเดียวที่พบการติดต่อจากการสัมผัสปัสสาวะผู้ป่วย
8. ความไวต่อการรับเชื้อ  ทุกคนทุกกลุ่มอายุและทุกเพศมีความไวต่อโรคนี้ใกล้เคียงกัน
9. อาการและการแสดง
อาการในคนอาจแตกต่างกันออกไปขึ้นกับชนิดและปริมาณของเชื้อ อาการที่พบบ่อยได้
แก่ ไข้เฉียบพลัน ปวดศีรษะรุนแรง หนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อรุนแรง
(มักปวดที่น่อง,โคนขา,กล้ามเนื้อหลังและท้อง)
ตาแดง อาจมีไข้ติดต่อกันหลายวันสลับกับระยะไข้ลด (Biphasic) และมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีผื่นที่เพดานปาก (Palatal exanthem) โลหิตจาง มีจุดเลือดออกตามผิวหนังและเยื่อบุ ตับและไตวาย ดีซ่าน อาจมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทำให้รู้สึกสับสน เพ้อ ซึม กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ อาจมีอาการทางระบบทางเดินหายใจ ไอมีเสมหะ อาจมีเลือดปน (Hemolysis) และเจ็บหน้าอก แม้ว่าอาการของโรคจะค่อนข้างหลากหลายโดยอาจมีอาการเด่นของอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งที่ถูกทำลายไม่ว่าจะเป็น ไต ตับ หรือระบบไหลเวียนโลหิต แต่จากรายงานที่มีอยู่ในประเทศไทยอาการที่พบ
ได้บ่อยมากคือไข้สูง
(88.8-100%) ปวดกล้ามเนื้อ (76-100%) ตาแดง (74-100%) ปวดศีรษะ
(66-100%)
อัตราป่วยตายโดยเฉลี่ยต่ำ  แต่จะเพิ่มสูงขึ้นในคนไข้สูงอายุและอาจสูงถึง 20% หรือมากกว่าในคนไข้ที่มีดีซ่านและไตถูกทำลาย แต่ไม่ได้รับการรักษาที่รวดเร็วและเพียงพอ

อาการของผู้รับเชื้อ







10 การวินิจฉัยแยกจากโรคอื่น ๆ

                ในพื้นที่ ที่มีโรคนี้เป็นโรคประจำถิ่นการติดเชื้อส่วนใหญ่มักไม่มีอาการหรือแสดงอาการแบบอ่อนจนไม่สามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้นอกจากนี้ยังไม่ต้องแยกจากโรคอื่น ๆ อีกหลายชนิด เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก ตับอักเสบจากเชื้อไวรัส  สครับทัยฟัส มาลาเรีย ไข้ทัยฟอยด์ ไข้เลือดออกฮันตา อาการสมองอักเสบอื่น ๆ
            ในช่วง 24-72 ชั่วโมงแรกของอาการโรคเลปโตสไปโรซิส อาจคล้ายกับโรคสครับทัยฟัสและโรคไข้เลือดออกฮานทามาก  ซึ่งในเกาหลีที่พบโรคทั้ง 3 โรคนี้ค่อนข้างชุกชุมมีรายงานว่าตัวอย่างเลือดที่ส่งไปตรวจทาง ซีโรโลยี่ ต่อโรคไข้เลือดออกฮานทานั้น มีแอนติบอดิ 21% ต่อโรคเลปโตสไปโรซิส 6% ต่อโรคสครับทัยฟัส ในทางตรงกันข้ามที่สิงคโปร์พบว่า 3% ของผู้ป่วย 261 คนที่สงสัยป่วยด้วยโรค เลปโตสไปโรซิส มีไตเตอร์แสดงว่าติดเชื้อไวรัสฮานทา
            อาการเฉพาะเพาะของโรคเลปโตสไปโรซิสที่พบได้ในระยะแรก ๆ ของการป่วยจะมีไข้ ปวดศีรษะรุนแรงและปวดกล้ามเนื้อแยกจากโรคอื่น ๆ ได้ยากดังนั้นจึงต้องอาศัยผลการตรวจทางห้องปฏิบัติมาช่วยได้แก่ ระดับ Creatinine และ urea ในเลือดเพิ่มสูงขึ้น เม็ดเลือดขาวเพิ่มสูงขึ้นและบางรายอาจพบ แอนติบอดิย์ เพิ่มสูงขึ้น
                การแยกเชื้อได้จากเลือด ปัสสาวะหรือน้ำไขสันหลังถือเป็นการยืนยันผลการตรวจในการ
พิสูจน์โรคในผู้เสียชีวิตจะพบการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพ ซึ่งได้แก่ ดีซ่าน เลือดออกในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ไตโตและซีดมีเลือดออก การเสื่อมสลายของเซลล์ที่
Renal tuble และตับและอาจพบเชื้อ
เลปโตสไปราจากการย้อมสีเนื้อเยื่อด้วย
               
การดูแลรักษาผู้ป่วย
                การรักษาโรคควรประกอบด้วยการให้ยาปฏิชีวนะที่รวดเร็วและเหมาะสม  การรักษาตามอาการเพื่อแก้ไขความผิดปกติและภาวะแทรกซ้อนร่วมกับการรักษาประคับประคอง
                การให้ยาปฏิชีวนะโดยเร็วที่สุดจะช่วยลดความรุนแรงและป้องกันอาการแทรกซ้อนของโรคได้ Penicillin ถือเป็นยาปฏิชีวนะที่ให้ผลการรักษาดีที่สุด  สำหรับรายที่แพ้ Penicillin อาจให้ Doxycycline
                ยาปฏิชีวนะ Cephalosporins และ Lincomycin มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อนี้ในห้องทดลองได้ดี  แต่ยังไม่มีการศึกษาในผู้ป่วย
                การทดลองในสัตว์ (Elwell et at 1985) โดยใช้ยา Doxycycline ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อ (Bacteriostatic) มากกว่าการฆ่าเชื้อ (Bacteriocidal) ยานี้จะดูดซึมเร็วในเนื้อเยื่อต่าง ๆ รวมทั้งไต สมองและน้ำไขสันหลัง (NEU 1978) ผลการเพาะเชื้อไม่พบการดื้อยาและในลิงพบว่าสามารถลดระยะพบเชื้อในเลือดลงได้  รวมทั้งป้องกันการติดเชื้อในน้ำไขสันหลังและ
ในปัสสาวะได้ด้วย  ผลการทดลองในหนูตะเภาพบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อในปัสสาวะและป้องกันการตายได้

กลวิธีการป้องกันและควบคุมโรค
 จัดระบบการเฝ้าระวังโรค  พัฒนาศักยภาพของการเฝ้าระวังโรคในด้านต่าง ๆ เช่น
การพัฒนาและเพิ่มห้องปฏิบัติการ  การพัฒนาวิธีการตรวจทั้ง
screening tests และ confirmatory tests รวมทั้งการพัฒนาระบบการแจ้งโรค  การรายงานและระบบข้อมูลข่าวสาร จะทำให้ได้ข้อมูล
ที่เป็นประโยชน์ต่อการกำหนดมาตรการป้องกันควบคุมโรคที่มีประสิทธิ์ภาพ เช่น ข้อมูลผู้ป่วย
ข้อมูลการสอบสวนการระบาดของโรค การสำรวจโรคในสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า การสำรวจแหล่งน้ำ ดิน ทราย เพื่อค้นหาแหล่งปนเปื้อนหรือแหล่งแพร่เชื้อ เป็นต้น
ลดการปนเปื้อนเชื้อในสภาวะแวดล้อม  ควบคุมจำนวนหนู ทั้งในบริเวณที่อยู่อาศัยของคน  พื้นที่ทำการเกษตรกรรม บริเวณเลี้ยงปศุสัตว์และแหล่งพักผ่อนท่องเที่ยว เพื่อลดการปนเปื้อนเชื้อเลปโตสไปราในสภาวะแวดล้อม  ซึ่งในทางปฏิบัติจะไม่สามารถกำจัดหนูออกไปได้
ทั้งหมด  แต่การลดประชากรหนูลงในระดับหนึ่ง จะช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคระบาดได้ การควบคุมจำนวนหนูควรเลือกวิธีเหมาะสม เช่น การสร้างอาคารที่กันหนูได้ การใช้วัสดุพื้นลื่น เช่น สังกะสีหุ้มรอบเสายุ้งฉาง การปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการกำจัดขยะ การทำคันนาให้เล็กและเตี้ยเพื่อป้องกันไม่ให้หนูมาทำรัง การกำจัดหนูโดยวิธีกล การใช้สารเคมีทำลายหนูและการอนุรักษ์ศัตรูตามธรรมชาติของหนู เช่น งู พังพอน นกแสก นกเค้าแมว ให้อยู่ในสมดุลย์
จะช่วยควบคุมประชากรหนูไม่ให้เพิ่มมากเกินไป

ควบคุมจำนวนสุนัขจรจัด  ซึ่งควรเริ่มตั้งแต่การคุมกำเนิดสุนัขมีเจ้าของไม่ให้มีลูกมากเกินไปจนเจ้าของนำไปปล่อยให้เป็นสุนัขจรจัด  การส่งเสริมการดูแลรับผิดชอบสุนัข  การปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและรวมทั้งการกำจัดโดยตรงในกรณีจำเป็น

ให้การป้องกันโรคแก่สัตว์เลี้ยง ทำได้โดย  ฉีดวัคซีนให้สุนัข วัคซีนที่มีจำหน่ายในประเทศไทยผลิตจากซีโรวาร์ ที่พบบ่อยในสุนัข คือ Licterohaemorrtagiae และ L canicota แต่ไม่ครอบคลุมซีโรวาร์ที่พบมากในประเทศไทย เช่น L bataviae การฉีดวัคซีนที่มีซีโรวาร์ที่พบบ่อยในท้องถิ่นจะช่วยป้องกันโรคหรือลดความรุนแรงของโรคในสุนัขได้แต่ไม่สามารถป้องกันการเป็นพาหะได้ ดังที่มีรายงานการติดเชื้อในคนที่ได้รับเชื้อจากสุนัขที่ฉีดวัคซีนแล้ว (Bey and Johnson. 1978 Feigin et al. 1973)
-                    ไม่ปล่อยสุนัขออกไปเพ่นพ่านนอกบ้าน เพราะอาจไปสัมผัสหนูหรือแหล่งปนเปื้อนเชื้อได้
-                    ควบคุมกำจัดหนูในบ้านและบริเวณบ้านป้องกันควบคุมโรคในฝูงปศุสัตว์  เช่น โค กระบือ สุกร ฯ โดย
-                    ตรวจหาการติดเชื้อในสัตว์ ถ้าพบสัตว์ติดเชื้อต้องแยกออกเพื่อไม่ให้แพร่เชื้อไปยังสัตว์อื่นและให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะที่ได้ผลดี เช่น dihydrostreptomycin
-                    ถ้ามีการระบาดของโรคในฝูงสัตว์ อาจพิจารณาทำลายทั้งฝูง เพื่อสกัดกั้นวงจรการแพร่เชื้อ
-                    สัตว์ที่ตายด้วยโรคเลปโตสไปโรซิส ควรทำลายด้วยการฝังหรือเผา ไม่ควรชำแหละเพราะทำให้เชื้อแพร่ติดต่อมาถึงคนได้
-                    ในกรณีที่พบว่าซากในโรงฆ่าสัตว์มีพยาธิสภาพของโรคนี้ เช่น ไตมีเลือดออกหรือเนื้อตาย ไม่ควรนำไปเป็นอาหาร ควรตัดซากส่วนนั้นทิ้งไป
-                    ควบคุมกำจัดหนูบริเวณคอกสัตว์อย่างสม่ำเสมอ
-                    ไม่ปล่อยสุนัขเข้ามาปะปนอยู่กับฝูงสัตว์
-                    ปรับปรุงสุขาภิบาลในบริเวณเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะการกำจัดมูลสัตว์และการปรับบริเวณพื้นผิวคอก  และพื้นดินให้แห้ง
-                    ฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่ประกอบด้วย serovar ที่พบมากในท้องถิ่นนั้นให้แก่สัตว์จะช่วยป้องกันไม่ให้สัตว์เป็นโรคได้ แต่ไม่สามารถป้องกันการเป็นพาหะหรือลดระยะเวลาการขับเชื้อออกมากับปัสสาวะ
แก้ไขการปนเปื้อนเชื้อในสภาวะแวดล้อม วิธีการแก้ไขการปนเปื้อนเชื้อในบริเวณที่อยู่อาศัย พื้นที่เกษตรกรรม แหล่งพักผ่อนท่องเที่ยว  อาจทำได้โดย
-                    ถ้าพบการปนเปื้อนเชื้อในท่อระบายน้ำ ควรล้างระบายน้ำออกไป
-                    การปรับพื้นผิวดินให้แห้ง
-                    การใช้มาตรการทางกฎหมาย เช่น หากพบการปนเปื้อนเชื้อในแหล่งน้ำตาม
ธรรมชาติ อาจประกาศห้ามใช้ชั่วคราวจนกว่าจะแก้ไขการปนเปื้อนได้
-                    การใช้สารเคมีฆ่าเชื้อในพื้นที่เกษตรกรรม เช่น การใช้ copper sulfate ความเข้มข้น 1: 40,000 พ่นในนาข้าวในปริมาณ 1,500 กรัม/เฮคเตอร์ พบว่าสามารถทำลายเชื้อเลปโตสไปราได้ แต่เป็นวิธีไม่คุ้มทุน นอกจากนั้นยังมีการศึกษาการใช้สารเคมีอื่น ๆ ด้วย เช่น calcium cyanamide และhypochlorite แต่พบว่าไม่ได้ผล
ป้องกันและหลีกเลี่ยงการสัมผัสเชื้อ สำหรับพื้นที่เสี่ยงต่อโรคนี้ ควรดำเนินการให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงสูง ให้เข้าใจถึงวิธีการติดต่อของโรค รู้จักวิธีป้องกันการสัมผัสเชื้อ เนื้อหาที่ให้ความสอดคล้องกับสภาพปัญหา และปัจจัยหรือพฤติกรรมเสี่ยงในแต่ละกลุ่ม เช่น
-                    ดื่มน้ำต้มสุกและบริโภคอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ ด้วยความร้อน
-                    ปกปิดอาหารและน้ำไม่ให้หนูมาปัสสาวะรดได้
-                    หมั่นล้างมือภายหลังจับต้องเนื้อ ซากสัตว์ และสัตว์ทุกชนิด
-                    ในพื้นที่เสี่ยงควรหลีกเลี่ยงการแช่หรือลุยน้ำที่อาจปนเปื้อนเชื้อจากปัสสาวะสัตว์นำโรค โดยเฉพาะถ้ามีแผลที่เท้าและมือ ไม่ว่าจะเป็นแผลเล็กน้อยหรือขีดข่วน ถ้าจำเป็นหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรสวมรองเท้าบู๊ท หรือไม่แช่น้ำนานหลายชั่วโมงเพราะผิวหนังจะชุ่มน้ำจนอ่อนนุ่ม ทำให้เชื้อไชเข้าผิวหนังที่ไม่มีแผลได้ และเมื่อขึ้นจากน้ำแล้วต้องรีบอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดทันที
-                    ทำทางเดินในพื้นที่เกษตรกรรม สำหรับการทำงานที่ไม่จำเป็นต้องลงลุยน้ำย่ำโคลนจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อได้
-                    ใช้เครื่องนุ่งห่มป้องกัน เช่น สวมรองเท้าบู๊ทยาง ถุงมือยาง เพื่อป้องกันการแช่สัมผัสน้ำโดยตรงและสวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว เพื่อป้องกันไม่ให้ใบหญ้า ใบอ้อยบาดเป็นแผล เป็นต้น
-                    ควรเผาบริเวณรอบไร่อ้อยก่อนเก็บเกี่ยว เพื่อไล่หนูออกไปไม่ให้มาปัสสาวะรด ซึ่งอาจทำให้เชื้อออกมาปนเปื้อนบริเวณทำงาน
-                    การฉีดวัคซีนป้องกันแก่คนงานและผู้ประกอบอาชีพเสี่ยงต่อโรค เป็นวิธีที่ใช้ในญี่ปุ่น จีน อิตาลี สเปน ฝรั่งเศส และอิสราเอล โดยแต่ละประเทศมักใช้วัคซีนที่ผลิตเองในประเทศ เพื่อให้มีส่วนประกอบของ serovar ที่พบมากในพื้นที่นั้น
-                    การใช้ยา doxycycline พบว่าสามารถป้องกันโรคนี้ได้ดีโดยให้รับประทานยา 200 มิลลิกรัม สัปดาห์ละครั้งในระหว่างที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงสูง ข้อแนะนำนี้อ้างอิงผลการทดลองของ Takafuji et al. 1984 ที่ได้ทำการศึกษาในกลุ่มคน เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (placebo) 471 คน โดยให้ทหารในกลุ่มทดลองรับประทาน doxycycline 200 มิลลิกรัมหลังอาหารภายใน 2 ชั่วโมง (ถ้าทิ้งระยะถึง 5-7 ชั่วโมง จะมีผลข้างเคียง เช่น อาเจียน) ในวันแรกที่เข้าป่า ต่อมาทุกต้นสัปดาห์ และวันสุดท้ายก่อนกลับ พบอัตราการติดโรค (attack rate) ในกลุ่มที่รับประทานยาเท่ากับ 0.2% (1/469) ในกลุ่มควบคุม เท่ากับ 4.2 % (20/471) โดย attack rate ในกลุ่มรับประทานยาต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p < 0.001, efficacy = 95%)
            การพิจารณาใช้ยาป้องกันการติดเชื้อ (chemoprophylaxis) ในพื้นที่อื่น ๆ ควรมีการศึกษาวิจัยรองรับประสิทธิผลของมาตรการนี้ ควรพิจารณาจำกัดการใช้เฉพาะในกลุ่มเสี่ยงโรคสูง ที่ไม่สามารถใช้วิธีการป้องกันอื่นๆ ได้และมีความเสี่ยงต่อการสัมผัสโรคในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น นอกจากนี้ต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดความเสียหายตามมาด้วย โดยเฉพาะปัญหาการดื้อยาปฏิชีวนะ
-                    บุคลากรที่ดูแลผู้ป่วย ควรระมัดระวังการสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย และสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนปัสสาวะของผู้ป่วย ต้องนำไปฆ่าเชื้อ

สอบสวน ป้องกันและควบคุมการระบาด ควรค้นหาแหล่งที่มาของการติดเชื้อ เช่น แหล่งน้ำ เรือกสวน ไร่ นา ฟาร์มปศุสัตว์และโรงงานอุตสาหกรรม แล้วแก้ไขการปนเปื้อนเชื้อ หรือห้ามการใช้ชั่วคราวรวมทั้งการแยกและรักษาสัตว์ที่ติดเชื้อ


เอกสารอ้างอิง
คู่มือวิชาการ  โรตเลปโตสไปโรซิส กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวง
สาธารณสุข    หน้า
7 ,8 ,10,12,13,14,15,16,17