วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วันรณรงค์สวัสดีปีใหม่ไร้แอลกอฮอล์ ๒๗ - ๓๐ ธ.ค.๕๓

ใกล้ช่วงเทศกาลปีใหม่ กระทรวงสาธารณสุขขอเชิญชวนพี่น้องคนไทยทุกท่านร่วมรณรงค์ สวัสดีปีใหม่...ไร้แอลกอฮอล์ เพื่อชีวิตของท่านของคนที่คุณรัก และบุคคลอื่นๆ ท่านอาจทำให้เขาเหล่านั้นต้องสูญเสียสิ่งที่เขารักและหวงแหนไป หากท่านดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้วมีอาการมึนเมา สามารถนำพาให้ท่านให้กระทำสิ่งใดๆ ที่ไม่สามารถจะคาดการณ์ได้ เช่น ขับขี่ยานพาหนะแล้วเกิดอุบัติเหตุ ลักทรัพย์ ปัญหาทางเพศข่มขืนแล้วฆ่า ทะเลาะวิวาท ไม่ใช่เพียงแต่ท่านเพียงคนเดียว หากเขาเหล่านั้นหรือตัวคุณ ต้องสูญเสีย พิการ กำพร้าพ่อแม่ สูญเสียคนที่เขารักที่สุดไป เพราะความมึนเมา มาร่วมกันรณรงค์ ลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในช่วงเทศกาลปีใหม่กันเถอะ หากท่านจำเป็นต้องดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็ควรดื่มในสถานที่พักของท่าน หรือหากท่านดื่มในที่ห้ามดื่มก็อาจจะมีความผิด มีโทษปรับหรือจำคุก หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งมีข้อห้ามที่ท่านควรศึกษาหาความรู้ ดังนี้
สถานที่ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
มาตรา 27   ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณดังต่อไปนี้
1. วัดหรือสถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา
2. สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลและร้านขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา
3. สถานที่ราชการ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นร้านค้าหรือสโมสร
4. หอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก
5. สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
6. สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงหรือร้านค้าในบริเวณสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
7. สวนสาธารณะของทางราชการที่จัดไว้เพื่อการพักผ่อนของประชาชนโดยทั่วไป
8. สถานที่อื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สถานที่ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
มาตรา 31 ห้ามมิให้ผู้ใดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณดังต่อไปนี้
1. วัดหรือสถานที่สำหรับปฏิบัติกรรมทางศาสนา เว้นแต่เป็นส่นหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนา
2. สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลและร้านขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล
3. สถานที่ราชการ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล หรือสโมสรหรือการจัดเลี้ยงตามประเพณี
4. สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคลหรือสโมสร หรือการจัดเลี้ยงตามประเพณี หรือสถานศึกษาที่สอนการผสมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
5. สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงหรือร้านค้าในบริเวณสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
6. สวนสาธารณะของทางราชการที่จัดไว้เพื่อการพักผ่อนของประชาชนโดยทั่วไป
7. สถานที่อื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ
ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เวลาที่สามารถขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้
เวลา 11.00 นาฬิกา ถึง 14.00 นาฬิกา
และ เวลา 17.00 นาฬิกา ถึง 24.00 นาฬิกา
ข้อนี้ สำหรับผู้ประกอบการที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต้องพึงระวังในเรื่องของการลด แลก แจก แถม หรือขายพ่วงกับสินค้าอื่น
มาตรา 30 ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยวิธีหรือในลักษณะดังต่อไปนี้
1. ใช้เครื่องขายอัตโนมัติ
2. การเร่ขาย
3. การลดราคาเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการขาย
4. ให้หรือเสนอให้สิทธิในการเข้าชมการแข่งขัน การแสดง การให้บริการการชิงโชค การชิงรางวัล หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดเป็นการตอบแทนแก่ผู้ซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือแก่ผู้นำหีบห่อ หรือสลากหรือสิ่งอื่นใดเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาแลกเปลี่ยนหรือแลกซื้อ
5. โดยแจก แถม ให้ หรือแลกเปลี่ยนกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือกับสินค้าอื่นหรือการให้บริการอย่างอื่นแล้วแต่กรณี หรือแจกขจ่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในลักษณะเป็นตัวอย่างของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเป็นการจูงใจสาธารณชนให้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการกำหนดเงื่อนไขการขายในลักษณะที่เป็นการบังคับซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยทางตรงหรือทางอ้อม
6. โดยวิธีหรือลักษณะอื่นใดตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ
ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่บุคคลที่อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์หรือบุคคลที่มีอาการมึนเมาจนครองสติไม่ได้
มาตรา 32 ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม การโฆษณาหรือการประชาสัมพันธ์ใดๆ โดยผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทให้กระทำได้เฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม โดยไม่มีการปรากฎภาพสินค้า หรือบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เว้นแต่เป็นการปรากฎของภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นเท่านั้น ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ตรวจภายในรถ
1. ยางอะไหล่และแม่แรง ตรวจเช็กลมยาง และให้แน่ใจว่าแม่แรงและด้ามขันใช้งานได้ตามปกติ
2. เข็มขัดนิรภัย ตรวจเช็กว่าหัวเข็มขัดสามารถล็อกได้เรียบร้อย
3. แตรให้แน่ใจว่าดังดี
4. แผงควบคุมและอุปกรณ์ ตรวจดูให้แน่ใจว่าทำงานเป็นปกติ และที่ปัดน้ำฝนปัดได้เรียบร้อยสม่ำเสมอ
5. เบรก เช็กระยะฟรีขาเบรกอยู่ในค่ากำหนดหรือไม่
6. ฟิวส์สำรองที่เตรียมไว้ต้องมีขนาดค่ากระแสใช้ได้ตามที่กำหนดที่แผงฟิวส์ตรวจใต้ฝากระโปรงหน้า
7. ระดับน้ำหล่อเย็น ควรจะมีอยู่ถึงระดับสูงสุดในถังพักสำรอง
8. หม้อน้ำและท่อยาง ควรดูว่าด้านหน้าหม้อน้ำหมดจดไม่มีเศษวัสดุ หรือใบใม้ติดอยู่ ดูท่อยางว่ามีรอยแยกเปื่อย มีรอยฉีกขาดหรือหลวม
9. สายพานขับต่างๆ ต้องไม่มีรอยแตก เลอะน้ำมันหล่อลื่น และความตึงสายพานอยู่ในค่ากำหนด
10. แบตเตอรี่และสายไฟ ตรวจดูและเติมน้ำกลั่นให้ได้ระดับที่กำหนดดูเปลือกแบตเตอรี่ว่ามีร่องรอยเสียหายหรือไม่ ดูขั้วต่อและสายไฟว่าอยู่ในสภาพดีหรือไม่
11. ระดับน้ำมันเบรกและคลัตช์ ตรวจดูว่าระดับน้ำมันเบรกและคลัตช์อยู่ในระดับที่ถูกต้อง
12. ท่อน้ำเชื้อเพลิง ตรวจดูว่าท่อน้ำมันมีการรั่ว หลุดหรือไม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น