วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สรุปข่าวสาธารณสุข ๒๒ ธ.ค.๕๓

http://www.moph.go.th/ops/iprg/news_pic/December22.pdf

สวัสดีปีใหม่ พ.ศ.๒๕๕๔..ไร้แอลกอฮอล์

ใกล้ช่วงเทศกาลปีใหม่ แผนกเวชกรรมป้องกัน ขอเชิญชวนพี่น้องชาว รพ.รร.จปร.ทุกท่านร่วมรณรงค์ สวัสดีปีใหม่...ไร้แอลกอฮอล์ เพื่อชีวิตของท่านของคนที่คุณรัก และบุคคลอื่นๆ ท่านอาจทำให้เขาเหล่านั้นต้องสูญเสียสิ่งที่เขารักและหวงแหนไป หากท่านดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้วมีอาการมึนเมา สามารถนำพาให้ท่านให้กระทำสิ่งใดๆ ที่ไม่สามารถจะคาดการณ์ได้ เช่น ขับขี่ยานพาหนะแล้วเกิดอุบัติเหตุ ลักทรัพย์ ปัญหาทางเพศข่มขืนแล้วฆ่า ทะเลาะวิวาท ไม่ใช่เพียงแต่ท่านเพียงคนเดียว หากเขาเหล่านั้นหรือตัวคุณ ต้องสูญเสีย พิการ กำพร้าพ่อแม่ สูญเสียคนที่เขารักที่สุดไป เพราะความมึนเมา มาร่วมกันรณรงค์ ลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในช่วงเทศกาลปีใหม่กันเถอะ หากท่านจำเป็นต้องดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็ควรดื่มในสถานที่พักของท่าน หรือหากท่านดื่มในที่ห้ามดื่มก็อาจจะมีความผิด มีโทษปรับหรือจำคุก หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งมีข้อห้ามที่พวกเราควรศึกษาหาความรู้  ดังนี้
สถานที่ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
มาตรา 27   ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณดังต่อไปนี้
1. วัดหรือสถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา
2. สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลและร้านขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา
3. สถานที่ราชการ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นร้านค้าหรือสโมสร
4. หอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก
5. สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
6. สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงหรือร้านค้าในบริเวณสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
7. สวนสาธารณะของทางราชการที่จัดไว้เพื่อการพักผ่อนของประชาชนโดยทั่วไป
8. สถานที่อื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สถานที่ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
มาตรา 31 ห้ามมิให้ผู้ใดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณดังต่อไปนี้
1. วัดหรือสถานที่สำหรับปฏิบัติกรรมทางศาสนา เว้นแต่เป็นส่นหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนา
2. สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลและร้านขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล
3. สถานที่ราชการ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล หรือสโมสรหรือการจัดเลี้ยงตามประเพณี
4. สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคลหรือสโมสร หรือการจัดเลี้ยงตามประเพณี หรือสถานศึกษาที่สอนการผสมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
5. สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงหรือร้านค้าในบริเวณสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
6. สวนสาธารณะของทางราชการที่จัดไว้เพื่อการพักผ่อนของประชาชนโดยทั่วไป
7. สถานที่อื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ
ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เวลาที่สามารถขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้
เวลา 11.00 นาฬิกา ถึง 14.00 นาฬิกา
และ เวลา 17.00 นาฬิกา ถึง 24.00 นาฬิกา
ข้อนี้ สำหรับผู้ประกอบการที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต้องพึงระวังในเรื่องของการลด แลก แจก แถม หรือขายพ่วงกับสินค้าอื่น
มาตรา 30 ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยวิธีหรือในลักษณะดังต่อไปนี้
1. ใช้เครื่องขายอัตโนมัติ
2. การเร่ขาย
3. การลดราคาเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการขาย
4. ให้หรือเสนอให้สิทธิในการเข้าชมการแข่งขัน การแสดง การให้บริการการชิงโชค การชิงรางวัล หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดเป็นการตอบแทนแก่ผู้ซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือแก่ผู้นำหีบห่อ หรือสลากหรือสิ่งอื่นใดเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาแลกเปลี่ยนหรือแลกซื้อ
5. โดยแจก แถม ให้ หรือแลกเปลี่ยนกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือกับสินค้าอื่นหรือการให้บริการอย่างอื่นแล้วแต่กรณี หรือแจกขจ่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในลักษณะเป็นตัวอย่างของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเป็นการจูงใจสาธารณชนให้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการกำหนดเงื่อนไขการขายในลักษณะที่เป็นการบังคับซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยทางตรงหรือทางอ้อม
6. โดยวิธีหรือลักษณะอื่นใดตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ
ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่บุคคลที่อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์หรือบุคคลที่มีอาการมึนเมาจนครองสติไม่ได้
มาตรา 32 ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม การโฆษณาหรือการประชาสัมพันธ์ใดๆ โดยผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทให้กระทำได้เฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม โดยไม่มีการปรากฎภาพสินค้า หรือบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เว้นแต่เป็นการปรากฎของภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นเท่านั้น ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ตรวจภายในรถ
1. ยางอะไหล่และแม่แรง ตรวจเช็กลมยาง และให้แน่ใจว่าแม่แรงและด้ามขันใช้งานได้ตามปกติ
2. เข็มขัดนิรภัย ตรวจเช็กว่าหัวเข็มขัดสามารถล็อกได้เรียบร้อย
3. แตรให้แน่ใจว่าดังดี
4. แผงควบคุมและอุปกรณ์ ตรวจดูให้แน่ใจว่าทำงานเป็นปกติ และที่ปัดน้ำฝนปัดได้เรียบร้อยสม่ำเสมอ
5. เบรก เช็กระยะฟรีขาเบรกอยู่ในค่ากำหนดหรือไม่
6. ฟิวส์สำรองที่เตรียมไว้ต้องมีขนาดค่ากระแสใช้ได้ตามที่กำหนดที่แผงฟิวส์ตรวจใต้ฝากระโปรงหน้า
7. ระดับน้ำหล่อเย็น ควรจะมีอยู่ถึงระดับสูงสุดในถังพักสำรอง
8. หม้อน้ำและท่อยาง ควรดูว่าด้านหน้าหม้อน้ำหมดจดไม่มีเศษวัสดุ หรือใบใม้ติดอยู่ ดูท่อยางว่ามีรอยแยกเปื่อย มีรอยฉีกขาดหรือหลวม
9. สายพานขับต่างๆ ต้องไม่มีรอยแตก เลอะน้ำมันหล่อลื่น และความตึงสายพานอยู่ในค่ากำหนด
10. แบตเตอรี่และสายไฟ ตรวจดูและเติมน้ำกลั่นให้ได้ระดับที่กำหนดดูเปลือกแบตเตอรี่ว่ามีร่องรอยเสียหายหรือไม่ ดูขั้วต่อและสายไฟว่าอยู่ในสภาพดีหรือไม่
11. ระดับน้ำมันเบรกและคลัตช์ ตรวจดูว่าระดับน้ำมันเบรกและคลัตช์อยู่ในระดับที่ถูกต้อง
12. ท่อน้ำเชื้อเพลิง ตรวจดูว่าท่อน้ำมันมีการรั่ว หลุดหรือไม่
ด้วยความปรารถนาดีจากแผนกเวชกรรมป้องกัน รพ.รร.จปร.

วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมเทิดพระเกียรติโครงการลดลูกน้ำลดไข้เลือดออกและบำบัดอีเอ็มในแหล่งน้ำ


เมื่อ ๒๒ ธ.ค.๕๓ พ.ท.พรชัย  มาลัยพวง หน.ผวป.รพ.รร.จปร.ชี้แจงการใช้จุลินทรีย์อีเอ็มให้กำลังพลทราบ
 พ.อ.ธนา  สุรารักษ์ ผอ.รพ.รร.จปร. เป็นประธานในการดำเนินงานกิจกรรมเทิดพระเกียรติ โครงการลดลูกน้ำลดไข้เลือดออกและใช้อีเอ็มบำบัดน้ำเสียในแหล่งน้ำ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา ๗ รอบ พ.ศ.๒๕๕๔
            ผอ.รพ.รร.จปร.และข้าราชการ รพ.รร.จปร.  เทอีเอ็มตามร่องระบายน้ำรอบ รพ.รร.จปร.


                               ร่วมกันโยนอีเอ็มบอลลงบ่อน้ำหน้า รพ.รร.จปร. เพื่อบำบัดน้ำเสีย


                        อสม.รพ.รร.จปร.ร่วมกันสำรวจแหล่งและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
                        อสม. เทอีเอ็มลงในแหล่งนำหน้าบ่อบำบัดน้ำเสีย รร.จปร.

                       อสม.สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ บ้านพักในพื้นที่ รร.จปร.

อสม.แจกจ่ายทรายอะเบตให้กับแม่บ้าน

วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วันรณรงค์สวัสดีปีใหม่ไร้แอลกอฮอล์ ๒๗ - ๓๐ ธ.ค.๕๓

ใกล้ช่วงเทศกาลปีใหม่ กระทรวงสาธารณสุขขอเชิญชวนพี่น้องคนไทยทุกท่านร่วมรณรงค์ สวัสดีปีใหม่...ไร้แอลกอฮอล์ เพื่อชีวิตของท่านของคนที่คุณรัก และบุคคลอื่นๆ ท่านอาจทำให้เขาเหล่านั้นต้องสูญเสียสิ่งที่เขารักและหวงแหนไป หากท่านดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้วมีอาการมึนเมา สามารถนำพาให้ท่านให้กระทำสิ่งใดๆ ที่ไม่สามารถจะคาดการณ์ได้ เช่น ขับขี่ยานพาหนะแล้วเกิดอุบัติเหตุ ลักทรัพย์ ปัญหาทางเพศข่มขืนแล้วฆ่า ทะเลาะวิวาท ไม่ใช่เพียงแต่ท่านเพียงคนเดียว หากเขาเหล่านั้นหรือตัวคุณ ต้องสูญเสีย พิการ กำพร้าพ่อแม่ สูญเสียคนที่เขารักที่สุดไป เพราะความมึนเมา มาร่วมกันรณรงค์ ลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในช่วงเทศกาลปีใหม่กันเถอะ หากท่านจำเป็นต้องดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็ควรดื่มในสถานที่พักของท่าน หรือหากท่านดื่มในที่ห้ามดื่มก็อาจจะมีความผิด มีโทษปรับหรือจำคุก หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งมีข้อห้ามที่ท่านควรศึกษาหาความรู้ ดังนี้
สถานที่ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
มาตรา 27   ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณดังต่อไปนี้
1. วัดหรือสถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา
2. สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลและร้านขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา
3. สถานที่ราชการ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นร้านค้าหรือสโมสร
4. หอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก
5. สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
6. สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงหรือร้านค้าในบริเวณสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
7. สวนสาธารณะของทางราชการที่จัดไว้เพื่อการพักผ่อนของประชาชนโดยทั่วไป
8. สถานที่อื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สถานที่ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
มาตรา 31 ห้ามมิให้ผู้ใดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณดังต่อไปนี้
1. วัดหรือสถานที่สำหรับปฏิบัติกรรมทางศาสนา เว้นแต่เป็นส่นหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนา
2. สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลและร้านขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล
3. สถานที่ราชการ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล หรือสโมสรหรือการจัดเลี้ยงตามประเพณี
4. สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคลหรือสโมสร หรือการจัดเลี้ยงตามประเพณี หรือสถานศึกษาที่สอนการผสมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
5. สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงหรือร้านค้าในบริเวณสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
6. สวนสาธารณะของทางราชการที่จัดไว้เพื่อการพักผ่อนของประชาชนโดยทั่วไป
7. สถานที่อื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ
ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เวลาที่สามารถขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้
เวลา 11.00 นาฬิกา ถึง 14.00 นาฬิกา
และ เวลา 17.00 นาฬิกา ถึง 24.00 นาฬิกา
ข้อนี้ สำหรับผู้ประกอบการที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต้องพึงระวังในเรื่องของการลด แลก แจก แถม หรือขายพ่วงกับสินค้าอื่น
มาตรา 30 ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยวิธีหรือในลักษณะดังต่อไปนี้
1. ใช้เครื่องขายอัตโนมัติ
2. การเร่ขาย
3. การลดราคาเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการขาย
4. ให้หรือเสนอให้สิทธิในการเข้าชมการแข่งขัน การแสดง การให้บริการการชิงโชค การชิงรางวัล หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดเป็นการตอบแทนแก่ผู้ซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือแก่ผู้นำหีบห่อ หรือสลากหรือสิ่งอื่นใดเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาแลกเปลี่ยนหรือแลกซื้อ
5. โดยแจก แถม ให้ หรือแลกเปลี่ยนกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือกับสินค้าอื่นหรือการให้บริการอย่างอื่นแล้วแต่กรณี หรือแจกขจ่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในลักษณะเป็นตัวอย่างของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเป็นการจูงใจสาธารณชนให้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการกำหนดเงื่อนไขการขายในลักษณะที่เป็นการบังคับซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยทางตรงหรือทางอ้อม
6. โดยวิธีหรือลักษณะอื่นใดตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ
ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่บุคคลที่อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์หรือบุคคลที่มีอาการมึนเมาจนครองสติไม่ได้
มาตรา 32 ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม การโฆษณาหรือการประชาสัมพันธ์ใดๆ โดยผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทให้กระทำได้เฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม โดยไม่มีการปรากฎภาพสินค้า หรือบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เว้นแต่เป็นการปรากฎของภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นเท่านั้น ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ตรวจภายในรถ
1. ยางอะไหล่และแม่แรง ตรวจเช็กลมยาง และให้แน่ใจว่าแม่แรงและด้ามขันใช้งานได้ตามปกติ
2. เข็มขัดนิรภัย ตรวจเช็กว่าหัวเข็มขัดสามารถล็อกได้เรียบร้อย
3. แตรให้แน่ใจว่าดังดี
4. แผงควบคุมและอุปกรณ์ ตรวจดูให้แน่ใจว่าทำงานเป็นปกติ และที่ปัดน้ำฝนปัดได้เรียบร้อยสม่ำเสมอ
5. เบรก เช็กระยะฟรีขาเบรกอยู่ในค่ากำหนดหรือไม่
6. ฟิวส์สำรองที่เตรียมไว้ต้องมีขนาดค่ากระแสใช้ได้ตามที่กำหนดที่แผงฟิวส์ตรวจใต้ฝากระโปรงหน้า
7. ระดับน้ำหล่อเย็น ควรจะมีอยู่ถึงระดับสูงสุดในถังพักสำรอง
8. หม้อน้ำและท่อยาง ควรดูว่าด้านหน้าหม้อน้ำหมดจดไม่มีเศษวัสดุ หรือใบใม้ติดอยู่ ดูท่อยางว่ามีรอยแยกเปื่อย มีรอยฉีกขาดหรือหลวม
9. สายพานขับต่างๆ ต้องไม่มีรอยแตก เลอะน้ำมันหล่อลื่น และความตึงสายพานอยู่ในค่ากำหนด
10. แบตเตอรี่และสายไฟ ตรวจดูและเติมน้ำกลั่นให้ได้ระดับที่กำหนดดูเปลือกแบตเตอรี่ว่ามีร่องรอยเสียหายหรือไม่ ดูขั้วต่อและสายไฟว่าอยู่ในสภาพดีหรือไม่
11. ระดับน้ำมันเบรกและคลัตช์ ตรวจดูว่าระดับน้ำมันเบรกและคลัตช์อยู่ในระดับที่ถูกต้อง
12. ท่อน้ำเชื้อเพลิง ตรวจดูว่าท่อน้ำมันมีการรั่ว หลุดหรือไม่

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คำแนะนำ เรื่องการป้องกันโรคโปลิโอ

โรคโปลิโอ และการป้องกันโรค
 

v  ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการกวาดล้างโรคโปลิโอแล้ว
     โดยพบผู้ป่วยรายสุดท้าย เมื่อ เมษายน 2540 จากการทุ่มเทในการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่และความร่วมมือของประชาชนในการพาบุตรหลานมารับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยอาจเกิดการระบาดของโรคได้อีก ซึ่งถ้าเกิดการระบาดประเทศไทยจะต้องใช้งบประมาณและบุคลากรจำนวนมากในการกวาดล้างโรคโปลิโอ
v  โรคโปลิโอยังมีระบาดอยู่ในอีก 4 ประเทศ และมีการแพร่ระบาดเข้าไปในอีกหลายประเทศ
     ประเทศที่มีโปลิโอเป็นโรคประจำถิ่น ได้แก่ อินเดีย ไนจีเรีย ปากีสถานและอัฟกานิสถาน ในภาวะที่การเดินทางไปมาระหว่างประเทศมีความสะดวกรวดเร็ว ทำให้เชื้อโปลิโอจากประเทศที่ยังมีการระบาด แพร่กระจายไปสู่ประเทศที่ปลอดจากโรคโปลิโอแล้ว จนเกิดการระบาดกลับมาใหม่ได้ ตัวอย่างที่ชัดเจนคือประเทศอินโดนีเซีย พบโรคโปลิโอกลับมาอีกหลังจากปลอดโรคมานาน 10 ปี และอีกกว่า 22 ประเทศ มีการระบาดของโรคกลับมาใหม่โดยการแพร่เชื้อมาจาก 4 ประเทศ ที่กล่าวมาปัญหาการระบาดมีสาเหตุสำคัญมาจากการที่มีเด็กที่ยังไม่มีภูมิต้านทานโรคอยู่ ทำให้มีโอกาสได้รับเชื้อและแพร่กระจายเชื้อไปยังเด็กอื่นๆ ที่ยังไม่มีภูมิต้านทาน หรือภูมิต้านทานโรคที่ไม่สูงพอ ใน พ.ศ. 2553 สถานการณ์การเกิดโรคโปลิโอยังไม่น่าวางใจ เนื่องจากมีปัญหาการระบาดข้ามประเทศจากประเทศที่ยังมีโรคโปลิโอเป็นโรคประจำถิ่นไปยังประเทศที่ปลอดโรคแล้ว โดยพบการระบาดกลับมาใหม่ในประเทศทาจิกิสถาน ภายหลังพบผู้ป่วยโปลิโอรายสุดท้ายเมื่อปี 2540 (13 ปีผ่านมา) เป็นจำนวนมาก ทำให้ประเทศไทยที่ไม่พบผู้ป่วยโปลิโอมาแล้วกว่า 13 ปีเช่นกัน มีความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดได้ 
v  ประเทศไทยต้องรณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอทุกปี ทั้งๆ ที่ไม่มีผู้ป่วยโปลิโอแล้ว
          การรณรงค์ยังจำเป็นในประเทศที่เสี่ยงต่อการได้รับเชื้อ เนื่องจากประเทศใกล้เคียงยังพบมีการระบาดของโรคอยู่  ประกอบ
  กับการเดินทางไปมาระหว่างประเทศเป็นไปได้ง่าย จึงเป็นโอกาสที่อาจมีการนำเชื้อเข้ามาแพร่ให้เด็กไทยได้  อีกทั้งยังมีเด็กต่างด้าว 
  อยู่มากมาย ซึ่งเด็กเหล่านี้หลบซ่อน หรือย้ายที่อยู่บ่อย จึงได้รับวัคซีนไม่ครบถ้วน เมื่อได้รับเชื้อแล้วจะแพร่กระจายสู่เด็กไทยได้   
  ดังนั้น  กลไกสำคัญของการรณรงค์คือให้วัคซีนพร้อมกันวันเดียวแก่เด็ก  เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้สูง และกวาดล้างเชื้อ
  โปลิโอให้หมดไปอย่างรวดเร็ว เพื่อรักษาภาวะปลอดโรคไว้ จนกว่าจะกวาดล้างโรคโปลิโอได้หมดทั่วโลก 
 
v  เราสามารถช่วยป้องกันไม่ให้โรคโปลิโอกลับมาแพร่ระบาดได้อีก โดย
ช่วยกันเฝ้าระวังโรค : ถ้าพบเห็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี มีอาการแขนขาอ่อนแรง ควรแนะนำให้รีบไปพบแพทย์ ที่โรงพยาบาล หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่สถานีอนามัย หรือศูนย์บริหารสาธารณสุขที่ใกล้บ้าน เพื่อให้มีการตรวจหาเชื้อโปลิโอ และหาสาเหตุอื่นต่อไป  
ช่วยกันป้องกันโรค :  ตรวจสอบดูประวัติรับวัคซีนของบุตรหลานในสมุดบันทึกสุขภาพว่าได้รับครบถ้วนตามกำหนดหรือไม่ โดยปกติเด็กทุกคนจะได้รับสมุดบันทึกฯ เมื่อแรกคลอด และใช้เป็นประวัติสุขภาพติดตัวทุกครั้งที่โรงพยาบาลเพื่อรับวัคซีนป้องกันโรคตามกำหนดนัด หากไม่มั่นใจว่าบุตรหลานได้รับวัคซีนครบหรือไม่ควรปรึกษาแพทย์ พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อจะได้นักหมายมารับวัคซีนให้ครบถ้วน หรือหากเป็นช่วงรณรงค์ประจำปี ในเดือนธันวาคมและมกราคม ก็สามารถมาปรึกษาและขอรับวัคซีนได้

v  โรคโปลิโอ เดิมเรียกว่า โรคไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส เชื้อจะเข้าไปในระบบประสาท และเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการอัมพาตตามมา เชื้อไวรัสโปลิโอสามารถก่อให้เกิดโรคได้ในคนทุกกลุ่มอายุแต่มักจะเกิดโรคในกลุ่มอายุต่ำกว่า 5 ปี มากที่สุด เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ยังไม่มีภูมิต้านทานต่อโรค หรือมีภูมิต้านทานไม่เพียงพอ ส่วนในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ มักจะมีภูมิต้านทานไปตลอดชีวิต
v  เชื้อไวรัสจะเข้าร่างกายทางปาก  โดยกินเชื้อที่ติดไปกับมือ หรืออาหารซึ่งเชื้อไวรัสจะผ่านออกมากับอุจจาระของผู้ป่วย หรือผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการเชื้อไวรัสจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนในหลอดอาหารส่วนบนและลำไส้ ต่อมาจะเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง เมื่อเชื้อเพิ่มจำนวนมากขึ้น จะเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ป่วย จากนั้นเชื้อบางส่วนจะเข้าสู่ระบบประสาท ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ถ้าเป็นมากเซลล์ประสาทถูกทำลาย ก็จะเป็นอัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก และจะลีบเล็กลงในที่สุด
v  อาการของโรค คือ ผู้ป่วยมักจะมีไข้ อาจมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เจ็บคอ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ บางรายปวดศีรษะมาก มีอาการตึงกล้ามเนื้อที่คอด้านหลัง ตามลำตัวและขา ผู้ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรงจะเริ่มด้วยอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ตามด้วยการมีอัมพาตของกล้ามเนื้อที่แขนหรือขา ทำให้เกิดกล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้
v  สร้างภูมิต้านทานตั้งแต่เด็กเพื่อป้องกันโรค ด้วยการให้วัคซีนป้องกันโรค เป็นการป้องกันโรคที่ดีที่สุด โดยนำเด็กมารับวัคซีน พร้อมกับวัคซีนชนิดอื่นๆ ตามกำหนดการให้วัคซีนปกติที่โรงพยาบาลนัดไว้ให้ครบอย่างน้อย 3 ครั้ง เมื่ออายุครบ 1 ปี และจะได้รับวัคซีนกระตุ้นอีก 2 ครั้ง เมื่ออายุ 1 ปีครึ่ง และ 4 ปี และให้วัคซีนเสริมอีก 2 ครั้ง ในช่วงรณรงค์เดือนธันวาคม และมกราคม ของทุกปี
ล้างมือให้สะอาด ป้องกันได้ทุกโรค ให้เด็กล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร หลังขับถ่าย หรือพยายามล้างมือให้เด็กด้วยน้ำสบู่บ่อยๆ ดูแลการขับถ่ายและกำจัดอุจจาระเด็กให้ถูกสุขลักษณะโดยถ่ายอุจจาระลงส้วมทุกครั้ง และรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่สะอาด จะช่วยป้องกันโรคที่เกิดจากการได้รับเชื้อที่เข้าทางปากได้
v  การมารับวัคซีนในช่วงที่มีการรณรงค์ฯ จะช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรคให้แก่เด็ก
โดยปกติกระทรวงสาธารณสุขจะกำหนดให้มีการรณรงค์เป็นประจำทุกปี ปีละ 2 ครั้ง ช่วงเดือนธันวาคม และมกราคม เพื่อให้เด็กทุกคนมีภูมิต้านทานโรคเพิ่มขึ้น ทำให้เชื้อโปลิโอไม่สามารถอยู่ในร่างกายเด็ก และจะถูกกำจัดออกไป
v  ข้อแนะนำเกี่ยวกับการรับวัคซีน
    ข้อควรระวังในการรับวัคซีน
-       ไม่ให้วัคซีนในเด็กที่นอนป่วยอยู่ในโรงพยาบาล เด็กที่ป่วย หรือมีคนป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน หรือโรคมะเร็ง
-       วัคซีนนี้เป็นชนิดกินไม่ต้องฉีดให้เจ็บ ไม่มีไข้ อาการข้างเคียงอื่นๆ พบได้น้อยถ้าก่อนรับวัคซีนเด็กมีอาการป่วยธรรมดา เช่นเป็นไข้ ไข้หวัด ท้องเสีย ก็รับวัคซีนได้ ส่วนเด็กที่ติดเชื้อ เอช ไอ วี สามารถให้วัคซีนชนิดกินได้เหมือนเด็กปกติ ไม่ว่าจะมีอาการของโรคเอดส์แล้วหรือไม่ก็ตาม
-       ได้รับวัคซีนโปลิโอหลายครั้งไม่เป็นอันตราย เด็กบางคนแม้จะได้รับวัคซีนมาหลายครั้งแต่อาจยังมีระดับภูมิต้านทานโรคที่ไม่สูงพอที่จะป้องกันโรคได้ และการได้รับวัคซีนหลายครั้งก็ยังไม่มีอันตรายแต่อย่างใดแต่กลับจะยิ่งช่วยกระตุ้นระดับภูมิคุ้มกันโรคให้สูงขึ้น
-       ถ้าเด็กอยู่ในพื้นที่เสี่ยงที่อาจได้รับเชื้อโปลิโอ โดยเป็นเด็กเพิ่งคลอด หรือยังไม่ถึงวันที่หมอนัดรับวัคซีนครั้งแรก ก็ควรพาเด็กไปหยอดวัคซีน เพื่อป้องกันเด็กจากการได้รับเชื้อ และเป็นโอกาสดีที่เด็กจะได้รับวัคซีนป้องกันเร็วขึ้น
v  ค่าใช้จ่าย : ฟรี
***********************

 

รณรงค์หยอดโปลิโอ ปี ๕๓

กระทรวงสาธารณสุขรณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอ ประจำปี 2553  รพ.รร.จปร.ขอประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่ากระทรวงสาธารณสุข ได้รณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอแก่เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี พร้อมกันทั่วประเทศประจำปี 2553 เพื่อป้องกันเชื้อโปลิโอที่อาจกลับมาใหม่ โดยกำหนดรณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอ 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 วันพุธที 15 ธันวาคม 2553 และครั้งที่ 2 วันพุธที่ 19 มกราคม 2554.ในเวลาราชการ ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการกวาดล้างโรคโปลิโอ โดยพบผู้ป่วยรายสุดท้ายเมื่อเดือนเมษายน 2540 จากการทุ่มเทของเจ้าหน้าที่และความร่วมมือของประชาชนในการพาบุตรหลานมารับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค อย่างไรก็ตามประเทศไทยอาจเกิดการระบาดของโรคอีกได้ หากเกิดการระบาด ดังนั้น การรณรงค์ยังคงมีความจำเป็น โดยเฉพาะถ้าพบเห็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี มีอาการแขนขาอ่อนแรง ควรแนะนำให้รีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล หรือสถานพยาบาล หรือ สถานีอนามัยใกล้บ้าน เพื่อให้มีการตรวจหาเชื้อโปลิโอหรือสาเหตุอื่น