วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

ซักซ้อมแผนรับสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ ๒๐๐๙

๑ตามที่ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ๒๐๐๙ ชนิด A (H1N1) ที่ ได้แพร่ระบาดเข้ามาในประเทศไทย ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยช่วงเวลาในขณะนี้เป็นช่วงการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล จึงอาจส่งผลให้มีผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้ง รพ.รร.จปร.มี การซ้อมแผนรับสถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ๒๐๐๙
วันที่  ๒๐  กันยายน  ๒๕๕๔    เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๖.๐๐ น.  ห้องประชุมชั้น ๖ รพ.รร.จปร โดยมีวัตถุประสงค์                             ๑. เพื่อซักซ้อมความเข้าใจ ในการรับการระบาดของไข้หวัดใหญ่ ๒๐๐๙
                             ๒. เพื่อทบทวนบทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน ในการรับการระบาดไข้หวัดใหญ่
                             ๓. เพื่อระดมความรู้ ประสบการณ์ ความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมรับการระบาดของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป



 
.

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

การเฝ้าระวังและแนวทางการสอบสวนโรคมือ เท้า ปาก

การเฝ้าระวังและแนวทางการสอบสวนโรคมือ เท้า ปาก


 
เอกสารแนบ 1
นิยามในการเฝ้าระวังและแนวทางการสอบสวนโรคมือ เท้า ปาก
สำนักระบาดวิทยา
2 สิงหาคม 2554
 
เกณฑ์ทางคลินิก (Clinical Criteria)
ส่วน ใหญ่พบในเด็กเล็ก มีอาการไข้ มีแผลเปื่อยหลายแผลในปากและมีอาการเจ็บร่วมกับมีตุ่มน้ำพองขนาดเล็กที่ฝ่า มือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า และบางครั้งอาจมีปรากฏที่ก้น
เกณฑ์ทางห้องปฏิบัติการ (Laboratory Criteria)
- Viral culture แยกเชื้อได้จาก
ทำ throat swab ในสัปดาห์แรกของการเริ่มป่วย
 ป้ายจากตุ่มน้ำพอง ที่ทำให้แตกบริเวณมือ/เท้า/ก้น (ก่อนตุ่มน้ำติดเชื้อหนองหรือเป็นสะเก็ด)
เก็บ stool culture ภายใน 14 วันหลังเริ่มป่วย ในอุจจาระจะพบเชื้อได้นานถึง 6 สัปดาห์
- Serology เจาะเลือดครั้งแรกทำเร็วที่สุดภายใน 3 วันหลังเริ่มป่วย ครั้งที่สองห่างจากครั้งแรก 14 วัน พบระดับแอนติบอดีในซีรั่มคู่ต่างกันอย่างน้อย 4 เท่า
 
ประเภทผู้ป่วย(Case Classification)
ผู้ป่วยที่สงสัย (Suspected case) หมายถึง ผู้ที่มีอาการตามเกณฑ์ทางคลินิก
ผู้ป่วยที่เข้าข่าย (Probable case) หมายถึง ผู้ที่มีอาการตามเกณฑ์ทางคลินิกและข้อมูลทางระบาดวิทยาเชื่อมโยงกับผู้ป่วยที่ยืนยัน
ผู้ป่วยที่ยืนยันผล (Confirmed case) หมายถึง ผู้ที่มีอาการตามเกณฑ์ทางคลินิก ร่วมกับผลตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการพบเชื้อไวรัสเอนเตอโร 71หรือ ผลการตรวจซีรั่มคู่ต่างกันอย่างน้อย 4 เท่าของระดับแอนติบอดีต่อไวรัสเอนเตอโร 71
การรายงานผู้ป่วยตามระบบเฝ้าระวังโรค-รง.506(Reporting Criteria)
ให้รายงานได้ตั้งแต่ ผู้ป่วยที่สงสัย (Suspected case)
 
การสอบสวนโรค(Epidemiological Investigation)
สอบสวนเฉพาะราย (Individual Investigation)
- กรณีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน หรือเสียชีวิต เพื่อหาสาเหตุเชื้อก่อโรค ภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้เสียชีวิต และค้นหาผู้สัมผัสใกล้ชิดที่อาจเกิดโรค/แพร่โรค
 
สอบสวนการระบาด (Outbreak Investigation) 
-    ใน กรณีที่เกิดโรคเป็นกลุ่มก้อน ให้รีบทำการสอบสวนการระบาดทันที เพื่อหาเชื้อก่อโรค และสาเหตุการระบาดในครั้งนั้น เพื่อการวางแผนในการควบคุมในครั้งนี้ และป้องกันการระบาดในครั้งต่อไปได้อย่างถูกต้อง 
เอกสารแนบ 2
แนวทางการเฝ้าระวังและควบคุมโรค กลุ่มอาการไข้และปอดบวมน้ำเฉียบพลันในเด็กเล็ก
สำหรับทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว
(Guideline for Surveillance of Fever with Acute Pulmonary Edema in Young Children)
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
2 สิงหาคม 2554
ความสำคัญของปัญหา
·       ใน รอบ ๑๐ ปีที่ผ่านมา มีการระบาดของโรค มือ เท้า ปาก ชนิดรุนแรง ในเด็กเล็กที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วจากอาการปอดบวมน้ำเฉียบ พลันรุนแรงในหลายประเทศในแถบเอเชีย เช่น มาเลเซีย ไต้หวัน และ สิงคโปร์ โดยพบว่าเชื้อต้นเหตุหลักได้แก่เชื้อ Enterovirus 71 (EV71)
·       ในปลายเดือนพฤษภาคมจนถึงปลายมิถุนายน 2549 ได้มี การสอบสวนกลุ่มก้อนผู้ป่วยเด็กเสียชีวิต จำนวน 8 ราย จากกรุงเทพมหานคร 3 ราย, นครปฐม 1 รายและนครราชสีมา 4 ราย พบว่า ผู้ป่วยทั้งหมดเป็นเด็ก มีอายุกลาง 2.5 ปี (ต่ำสุด 5 เดือน, สูงสุด 13 ปี) ผู้ป่วยทุกรายจะมีอาการนำแค่ไข้ประมาณ 1-3 วันจากนั้นอาการจะ แย่ลงอย่างรวดเร็ว ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มป่วยจนถึงเสียชิวิตอยู่ระหว่าง 2-4 วัน ลักษณะอาการที่รุนแรงก่อนเสียชีวิตคือน้ำท่วมปอดและระบบไหลเวียนโลหิตล้ม เหลว ในจำนวนนี้มีสองรายที่มีผื่นตามตัว หรือ มือ เท้า ปาก จากการเก็บอุจจาระและเสมหะที่ดูดจากท่อช่วยหายใจ ตรวจทางห้องปฏิบัติการพบสารพันธุกรรมของ เชื้อ Enterovirus 71 รวม 3 ราย
·       ได้มีการประชุมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เห็นว่าจะมีการระบาดของ Hand Foot Mouth ที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง โดยเฉพาะอาการปอดบวมน้ำ และเสียชีวิตซึ่งมาจากกลุ่ม  Enterovirus หรือ ไวรัสตัวอื่นมากผิดปกติในปีนี้
·       แม้ จะไม่มียาที่ใช้สำหรับการรักษาที่เฉพาะเจาะจง หรือวัคซีน แต่สามารถป้องกันการแพร่ระบาด ควบคุมโรค และลดอัตราการป่วยตายได้โดยเร่งรัดการเฝ้าระวัง การสอบสวนโรค การดูแลรักษา และการให้ความรู้แก่ประชาชนอย่างเร่งด่วน
 
วัตถุประสงค์ของการเฝ้าระวัง
1.       เพื่อทราบขนาดและแนวโน้มการระบาดของกลุ่มอาการมือเท้าปากที่รุนแรง และกลุ่มอาการใช้ร่วมกับปอดบวมน้ำเฉียบพลันในเด็ก
2.       เพื่อทราบชนิดและสายพันธ์ของเชื้อต้นเหตุโดยเฉพาะเชื้อ EV 71
3.       เพื่อทราบปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอาการรุนแรงในผู้ป่วย
4.       เพื่อดำเนินการป้องกันโรค และควบคุมหากโรคเกิดขึ้นจะได้ไม่ขยายตัวกว้างขวาง
 
แนวทางการเฝ้าระวังและสอบสวนผู้ป่วย
ผู้ป่วยที่ต้องรายงานและสอบสวน หมายถึงผู้ป่วยเด็กทุกรายอายุต่ำกว่า 15 ปีที่
·       แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นหรือสงสัยว่าเป็นโรคมือเท้าปาก (Hand Foot Mouth) ที่ต้องนอนรักษาในโรงพยาบาลเพราะมีอาการรุนแรง หรือมีภาวะแทรกซ้อน (ปอด หัวใจ สมอง และอื่นๆ) หรือ
·       แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นหรือสงสัยว่าเป็นโรคมือเท้าปาก แม้จะไม่รุนแรงถึงต้องนอนโรงพยาบาลแต่มีลักษณะเป็นกลุ่มก้อน (มากกว่า 2 รายในชุมชนเดียวกัน หรือ ชั้นเรียนเดียวกัน)
·       แพทย์ตรวจพบมีไข้ (ตั้งแต่ 38  องศาเซลเซียส) และมีอาการปอดบวมน้ำเฉียบพลัน ไม่ว่าจะมีอาการมือ ปาก เท้า หรือไม่ (Fever with Acute Pulmonary Edema)
การดำเนินงาน
1.       สำนัก งานสาธารณสุขทุกแห่งแจ้งเตือนสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อให้ แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการทุกท่านทราบข่าวการระบาด ระมัดระวังผู้ป่วยที่อาจมีอาการรุนแรง เช่น ไข้และปอดบวมน้ำเฉียบพลันในเด็กเล็ก หรือผู้ป่วยที่อาจไม่มีตุ่มน้ำเกิดขึ้น และดำเนินการกระตุ้นให้มีการรายงานผู้ป่วยในข่ายเฝ้าระวังทุกรายไปยังสำนัก งานสาธารณสุขอำเภอและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตามระบบ
2.       สำนัก งานสาธารณสุขจังหวัดและอำเภอ จัดทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วให้มีความพร้อมและ ดำเนินการสอบสวนผู้ป่วยทุกกรณีที่ได้รับรายงานโดยใช้แบบสอบสวนผู้ป่วยโรคมือ เท้าปาก ในหนังสือนิยามโรคติดเชื้อของสำนักระบาดวิทยา และดำเนินการเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อยืนยันการวินิจฉัย
3.       ผู้ป่วยที่ได้รับรายงาน ให้ดำเนินการสอบสวนและเก็บตัวอย่าง ดังนี้
3.1    Nasopharyngeal suction, หรือ Nasopharyngeal swab, หรือ Throat swab เก็บใน viral transport media สำหรับ Enterovirus (สีชมพู)
3.2    อุจจาระจำนวน 8 กรัม หรือ 2 หัวแม่มือ
3.3   Pair Serum ในวันแรกที่พบผู้ป่วย และอีกครั้งเมื่อผู้ป่วยเสียชีวิต หรือ 2 สัปดาห์หลัง serum แรก
ตัวอย่าง ข้อ  3.1 และ 3.2 ให้แช่ในกระติกน้ำแข็ง อุณหภูมิ 4-8 องศาเซลเซียส ในขณะนำส่งห้องปฏิบัติการ
4.       ในกรณี Hand Foot Mouth ที่เสียชีวิต หรือ Fever with acute pulmonary edema.ให้รายงานผู้ป่วยที่ได้สอบสวนให้สำนักงานป้องกันควบคุมโรคและสำนัก ระบาดวิทยาทราบทุกวัน เนื่องจากกรณีดังกล่าวมีความสำคัญสูงและเป็นตัวชี้ ความรุนแรงของสถานการณ์ของโรค
 
 
 
แนวทางการควบคุมโรคสำหรับทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว
การดำเนินงาน
1.       เร่ง รัดมาตรการสุขาภิบาลในสถานเลี้ยงดูเด็กเล็กในทุกหมู่บ้าน โรงเรียนประถมทุกแห่ง ศูนย์การค้าที่มีเครื่องเล่น โดยให้มีการทำความสะอาดพื้น ของเล่นเด็ก ห้องสุขาและห้องน้ำ อุปกรณ์สำหรับการรับประทานอาหารและแก้วน้ำ โดยใช้หลักการและแนวทางตามประกาศของกรมอนามัย (ที่แนบมา รายละเอียดสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์สำนักระบาดวิทยา http://epid.moph.go.th)
2.      เมื่อพบว่ามีการระบาด ให้ดำเนินสอบสวนและควบคุมการระบาด ดังนี้
2.1 ดำเนินการแจ้งเตือนและให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ในเรื่องธรรมชาติของ เชื้อและการป้องกันควบคุมโรค โดยเน้นเรื่องการดูแลความสะอาดของสิ่งของที่เด็กมักจะเอาเข้าปาก และหากเด็กมีอาการไข้ ไอ หรือมีอาการป่วยคล้ายมือ เท้า ปาก ให้หยุดเรียน และพาไปพบแพทย์
2.2 แนะนำให้เด็กที่ป่วยอยู่กับบ้านและงดการเล่นกับเด็กอื่นๆในชุมชนจนอย่างน้อย ๑ สัปดาห์หลังเริ่มป่วย
2.3 หากพบว่ามีการระบาดของ HFM หรือ มีผู้ป่วยติดเชื้อ Enterovirus 71 ในโรงเรียนหรือศูนย์เด็กเล็ก พิจารณาให้ปิดชั้นเรียนที่มีเด็กป่วยมากกว่า ๒ ราย หากมีการป่วยกระจายในหลายชั้นเรียน
แนะ นำให้ปิดโรงเรียนเป็นเวลา ๕ วัน พร้อมทำความสะอาด อุปกรณ์รับประทานอาหาร, ของเล่นเด็ก, ห้องน้ำ, สระว่ายน้ำ และให้มั่นใจว่าน้ำมีระดับคลอรีนที่ไม่ต่ำกว่ามาตรฐาน
 
 
*****************************************

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

การรายงานสภาพอากาศเกี่ยวกับอุณหภูมิความชื้นสัมพัทธ์ในพื้นที่ รร.จปร.


ด้วย รพ.รร.จปร. ได้จัดทำรายงานสภาพอากาศความชื้นสัมพัทธ์เพื่อป้องกันโรคจากลมร้อนและข้อแนะนำในการฝึก โดยให้หน่วย นขต.รร.จปร ติดตามดูสภาพอากาศที่แสดงผลในหน้าเว็ป รพ.รร.จปร.ได้ทุกวัน( http://www2.crma.ac.th/hospital/) เพื่อให้หน่วยทหาร  ใน รร.จปร. และ หน่วยทหารภายนอก ที่ใช้พื้นที่ รร.จปร. ทำการฝึกวิชาทหาร รวมทั้งการฝึกหรือทำกิจกรรมให้กับกลุ่มมวลชนต่าง ๆ ใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนการฝึกวิชาทหารของหน่วย ในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคอันเกิดจากความร้อน ดังนี้
รายงานสภาพอากาศ  รร.จปร.
เพื่อป้องกันอันตราย
จากโรคลมร้อน
ประจำวันที่  กันยาน 2554
  อุณหภูมิสูงสุด
29
° C
  อุณหภูมิต่ำสุด
25
° C
  ความชื้นสัมพัทธ์
71
%
  ธงสัญญาณ

           ข้อแนะนำการฝึก
                       ฝึกได้ 30  นาที
             ดื่มน้ำอย่างน้อย 1 ลิตร
ลักษณะอากาศทั่วไป
                    ฝนฟ้าคะนอง
   ปริมาณฝน 70 %   ของพื้นที่







06/9/2554 09:33:19