วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การป้องกันโรคฉี่หนู

โรคเลปโตสไปโรซิส
(LEPTOSPIROSIS)
วินัย  หมวกพิมาย

โรคเลปโตสไปโรซิส เป็นกลุ่มอาการของโรคจากเชื้อแบคทีเรียที่ติดต่อมาจากสัตว์หลายชนิด
ก่ออาการหลากหลายขึ้นกับชนิดของเชื้อ
(Serovas) และปริมาณเชื้อที่ได้รับการติดเชื้อมีได้ตั้งแต่ไม่ปรากฏอาการ  มีอาการอย่างอ่อน  จนถึงอาการรุนแรง หรือเสียชีวิต คนที่ติดเชื้อในพื้นที่โรคนี้เป็นโรคประจำถิ่น  ส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการหรือแสดงอาการอย่างอ่อน
1. ลักษณะของเชื้อ
เชื้อ Leptospira เป็นแบคทีเรียชนิดสไปโรซิส (spirochaete) มีลักษณะเป็นเส้นเกลียวบาง ขนาดกว้างประมาณ 0.1 um ยาว 6-20 um เคลื่อนไหวได้รวดเร็วโดยการหมุน (Spinning) หรือการโค้งงอ (Bending) โดยมากปลายทั้งสองข้างหรือข้างใดข้างหนึ่งจะโค้งหรืองอเป็นขอแต่อาจพบเชื้อที่เป็นเส้นตรง  ซึ่งมักจะหมุนเคลื่อนไหวได้ช้ากว่า เชื้อ Leptospira มีเยื่อหุ้ม (Membrane) 3-5 ชั้นเชื้อนี้หากตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์พื้นมืดจะเห็นเป็นเส้นเล็ก ๆ เคลื่อนไหวรวดเร็วแต่อาจสับสนกับสิ่งปลอมปนอื่น ๆ ได้การตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์อีเล็กตรอน Election microscope จะเห็นเป็นเส้นเกลียวชัดเจน
1.2 การแบ่งกลุ่มเชื้อ
เชื้อ Leptospira แบ่งออกเป็น 2 Species ได้แก่เชื้อที่อยู่อิสระในภาวะแวดล้อม Freeliving Saprophyte คือ Leptospira biflexa ที่พบได้ในน้ำจืดหรืออาจพบในน้ำทะเล เป็นเชื้อที่ไม่ทำให้เกิดโรคในคนและสัตว์อื่น ๆ ส่วนเชื้อที่ที่ก่อโรค (Pathogenic) คือ Leptospira interrogans ปัจจุบันมีการศึกษาเพื่อจะแบ่งกลุ่มเชื้อโดยอาศัยความสัมพันธ์ของ DNA ในสหรัฐอเมริกาสำหรับการแยกโดยวิธี  ซีโรโลยี่ แบ่งเชื้อได้เป็น 23 กลุ่ม Supgroups


รูปเชื้อเลปโตสไปโรซิส




                 



2. การเกิดโรค
พบได้ทั่วโลก (ยกเว้นขั้วโลก) พบได้ทั้งในเขตเมืองและเขตชนบททั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศ ที่กำลังพัฒนาเนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่มีสัตว์หลายชนิดทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่าเป็นแหล่งรังโรคที่ปล่อยเชื้อออกมากับปัสสาวะ คนอาจติดโดยการสัมผัสโดยตรงกับปัสสาวะสัตว์หรือโดยทางอ้อมจากการสัมผัสน้ำหรือดินหรือทรายปนเปื้อนเชื้อ

2.1 กลุ่มเสี่ยง
                คนทุกกลุ่มอายุทั้งเพศชายและเพศหญิงมีความไวต่อการติดเชื้อไม่แตกต่างกันแต่ถ้าเป็นการติดเชื้อจากการประกอบอาชีพมักเป็นคนในวัยทำงานและเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง
                2.1.1 กลุ่มอาชีพ  ได้แก่คนที่มีโอกาสสัมผัสกับสัตว์หรือปัสสาวะสัตว์อยู่เสมอ ๆ
-                    เกษตรกร เช่น ชาวนา ชาวไร่ คนงานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ (โค สุกร ปลา) คนจับหนูขาย  ในกลุ่มนี้มีรายงานการติดโรคในชาวนามากที่สุดจากการที่ต้องแช่น้ำเป็นเวลานาน  ปัจจัยเสี่ยงได้แก่ ความหนาแน่นของหนูและปริมาณน้ำฝนช่วงเก็บเกี่ยว
-                    กรรมกร เช่นคนงานขุดลอกท่อระบายน้ำ หรือเหมืองแร่ โรงฆ่าสัตว์ ฯล
-                    กลุ่มอื่น ๆ ได้แก่สัตวแพทย์  นักวิทยาศาสตร์ในห้องทดลอง ทหาร ตำรวจ ที่ปฏิบัติหน้าที่ตามป่าเขา
                -  ประชาชนทั่วไป มีประวัติย่ำหรือแช่น้ำท่วมขัง ผู้ที่บ้านมีหนูมากและบริเวณบ้านอับชื้นแสงสว่างส่องไม่ถึง  บริเวณบ้านมีแอ่งน้ำเฉอะแฉะ ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ เช่น สุนัข หนู











3.แหล่งรังโรค 
                        ทั้งสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงหลายชนิดเป็นแหล่งรังโรค ซึ่งเชื้อแต่ละชนิดเป็นแหล่งรังโรคซึ่งแต่ละชนิด (Serovars) มักมีสัตว์ที่เป็นแหล่งรังโรคหลัก เช่น หนู,สุกร,โค,กระบือ,สุนัข และแรกคูน
-                    สัตว์ที่เป็นแหล่งรังโรค (Renal tubule) และสามารถปล่อยเชื้อออกมากับปัสสาวะ (Leptospira) ได้เป็นเวลานานหลายสัปดาห์หลายเดือนหรืออาจตลอดชีวิตของมันทำให้มีการแพร่ติดต่อของเชื้อในฝูงสัตว์  จากการเลียกินปัสสาวะ  การผสมพันธุ์, การสัมผัสปัสสาวะในสิ่งแวดล้อม  นอกจากนี้การถ่ายทอดเชื้อจากแม่ไปสู่ลูกโดยผ่านทางรกหรือขณะคลอดก็อาจเกิดขึ้นได้ด้วย

พาหะนำเชื้อ

                                   
หนู


ผลการตรวจโรคเลปโตสไปโรซิสในฝูงสัตว์ที่พบปัญหาแท้ง ปี พ.. 2540

ชนิดสัตว์
เปอร์เซ็นต์แอนติบอดิย์
ชนิดของเชื้อ (serovars)
จังหวัด

กระบือ

31%
(31/100)
ส่วนมากพบ   L. javanica และ
                       L. hyos
ส่วนน้อยพบ   L Pomona
                       L. pyrogenes
                       L wolffi  และ
                       L bataviae
.สุรินทร์

โค

28.25%
(241/853)
ส่วนมากพบ   L. hyos
                       L. javaniga
                       L. Pomona
                       L. pyrogenes   
              และ L. wolffi
ส่วนน้อยพบ
            Licterohaemorrhagiae
            L.grippotyphosa

. ชัยภูมิ
. ลพบุรี
. สระบุรี

แพะ,แกะ

27.35%
(67/245)
L. ictrohaemorrhagiae และ
L. akiyami
.ระยอง
. ราชบุรี

สุกร

2.15%
(8/372)
L. grippotyphosa และ
L. ictrohaemorrhagiae
.สระแก้ว จ.นครนายก
.ราชบุรี จ.สุพรรณบุรี





ชนิดสัตว์
เปอร์เซ็นต์แอนติบอดิย์
ชนิดของเชื้อ (serovars)
จังหวัด

กระบือ

31%
(31/100)
ส่วนมากพบ   L. javanica และ
                       L. hyos
ส่วนน้อยพบ   L Pomona
                       L. pyrogenes
                       L wolffi  และ
                       L bataviae

.สุรินทร์

โค

28.25%
(241/853)
ส่วนมากพบ  L. hyos
                      L. javaniga
                      L. Pomona
                      L. pyrogenes  
             และ L. wolffi
ส่วนน้อยพบ
            Licterohaemorrhagiae
            L.grippotyphosa

. ชัยภูมิ
. ลพบุรี
. สระบุรี

แพะ,แกะ

27.35%
(67/245)
            L. ictrohaemorrhagiae
และ    L. akiyami
.ระยอง
. ราชบุรี

สุกร

2.15%
(8/372)
              L. grippotyphosa
และ      L. ictrohaemorrhagiae
.สระแก้ว จ.นครนายก
.ราชบุรี จ.สุพรรณบุรี

ตรวจโดยวิธี  Microscoscopic Agglutination Test (MAT) ใช้แอนติเจน 12 ซิโรวาร์ ที่เฝ้าระวังในช่วงก่อนปี  2541

4. การติดต่อของโรค
เชื้อถูกปล่อยออกมากับปัสสาวะสัตว์ที่ติดเชื้อและปนเปื้อนอยู่ตามน้ำ ดิน ทราย หรือพืชผัก ที่เปียกชื้น  เชื้อสามารถไชเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง รอยแผล และรอยขีดข่วน เยื่อบุของปาก ตา จมูก  นอกจากนี้ยังสามารถไชเข้าทางผิวหนังปกติที่เปียกชุมเนื่องจากแช่น้ำอยู่นาน  คนมักติดเชื้อโดยอ้อมขณะย่ำโคลน  แช่น้ำหรือว่ายน้ำหรืออาจติดโรคโดยตรงจากการสัมผัสเชื้อในปัสสาวะสัตว์หรือเนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนเชื้อ

5. พยาธิกำเนิด
เชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยการกินอาหารหรือน้ำหรือการหายใจเอาละอองนิวเคลียสจากของเหลวที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป (แต่พบน้อย) เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเข้ากระแสเลือดภายใน 24
ชั่วโมง แล้วจะเพิ่มจำนวนได้สูงสุดภายใน
2-4 วัน (เป็นช่วงที่มีไข้สูง) แล้วกระจายไปตามอวัยวะต่าง ๆ เช่น ลำไส้ เยื่อหุ้มสมอง ปอด หัวใจ โดยมักไปที่ตับ ไต ทำให้เกิดการอักเสบและเนื้อตายตามอวัยวะเหล่านั้น  รายที่อาการรุนแรงอาจพบภาวะเลือดออกที่ลำไส้ ปอด ตับวาย ไตวาย ถึงขั้นเสียชีวิตได้ ในระยะ 1-2 สัปดาห์หลังป่วยร่างกายจะเริ่มสร้างภูมิต้านทานโรค ทำให้เชื้อถูกกำจัดออกไปแต่เชื้อส่วนหนึ่งจะหลบเข้าไปอยู่ในไตและเพิ่มจำนวนมากขึ้นแล้วถูกขับออกมากับปัสสาวะเป็นครั้งคราวหรือต่อเนื่องกัน ซึ่งจำนวนและระยะเวลาที่เชื้อถูกขับออกมากน้อยเท่าใดจะสัมพันธ์กับชนิดสัตว์และชนิดของเชื้อ (Serovars) ปริมาณของเชื้อที่ถูกขับออกมาอาจมากถึง 100 ล้านตัวต่อปัสสาวะ 1 มิลลิลิตร
6. ระยะฟักตัวของโรค  ระยะฟักตัวของโรคโดยเฉลี่ยประมาณ 10 วัน หรืออยู่ในช่วง
4-19 วัน (อาจเร็วภายใน 2 วันหรือนานถึง 26 วัน)
7. ระยะติดต่อของโรค ความเสี่ยงจากการติดต่อจากคนถึงคนเกิดขึ้นได้น้อยมาก
มีรายงานเพียงครั้งเดียวที่พบการติดต่อจากการสัมผัสปัสสาวะผู้ป่วย
8. ความไวต่อการรับเชื้อ  ทุกคนทุกกลุ่มอายุและทุกเพศมีความไวต่อโรคนี้ใกล้เคียงกัน
9. อาการและการแสดง
อาการในคนอาจแตกต่างกันออกไปขึ้นกับชนิดและปริมาณของเชื้อ อาการที่พบบ่อยได้
แก่ ไข้เฉียบพลัน ปวดศีรษะรุนแรง หนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อรุนแรง
(มักปวดที่น่อง,โคนขา,กล้ามเนื้อหลังและท้อง)
ตาแดง อาจมีไข้ติดต่อกันหลายวันสลับกับระยะไข้ลด (Biphasic) และมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีผื่นที่เพดานปาก (Palatal exanthem) โลหิตจาง มีจุดเลือดออกตามผิวหนังและเยื่อบุ ตับและไตวาย ดีซ่าน อาจมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทำให้รู้สึกสับสน เพ้อ ซึม กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ อาจมีอาการทางระบบทางเดินหายใจ ไอมีเสมหะ อาจมีเลือดปน (Hemolysis) และเจ็บหน้าอก แม้ว่าอาการของโรคจะค่อนข้างหลากหลายโดยอาจมีอาการเด่นของอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งที่ถูกทำลายไม่ว่าจะเป็น ไต ตับ หรือระบบไหลเวียนโลหิต แต่จากรายงานที่มีอยู่ในประเทศไทยอาการที่พบ
ได้บ่อยมากคือไข้สูง
(88.8-100%) ปวดกล้ามเนื้อ (76-100%) ตาแดง (74-100%) ปวดศีรษะ
(66-100%)
อัตราป่วยตายโดยเฉลี่ยต่ำ  แต่จะเพิ่มสูงขึ้นในคนไข้สูงอายุและอาจสูงถึง 20% หรือมากกว่าในคนไข้ที่มีดีซ่านและไตถูกทำลาย แต่ไม่ได้รับการรักษาที่รวดเร็วและเพียงพอ

อาการของผู้รับเชื้อ







10 การวินิจฉัยแยกจากโรคอื่น ๆ

                ในพื้นที่ ที่มีโรคนี้เป็นโรคประจำถิ่นการติดเชื้อส่วนใหญ่มักไม่มีอาการหรือแสดงอาการแบบอ่อนจนไม่สามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้นอกจากนี้ยังไม่ต้องแยกจากโรคอื่น ๆ อีกหลายชนิด เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก ตับอักเสบจากเชื้อไวรัส  สครับทัยฟัส มาลาเรีย ไข้ทัยฟอยด์ ไข้เลือดออกฮันตา อาการสมองอักเสบอื่น ๆ
            ในช่วง 24-72 ชั่วโมงแรกของอาการโรคเลปโตสไปโรซิส อาจคล้ายกับโรคสครับทัยฟัสและโรคไข้เลือดออกฮานทามาก  ซึ่งในเกาหลีที่พบโรคทั้ง 3 โรคนี้ค่อนข้างชุกชุมมีรายงานว่าตัวอย่างเลือดที่ส่งไปตรวจทาง ซีโรโลยี่ ต่อโรคไข้เลือดออกฮานทานั้น มีแอนติบอดิ 21% ต่อโรคเลปโตสไปโรซิส 6% ต่อโรคสครับทัยฟัส ในทางตรงกันข้ามที่สิงคโปร์พบว่า 3% ของผู้ป่วย 261 คนที่สงสัยป่วยด้วยโรค เลปโตสไปโรซิส มีไตเตอร์แสดงว่าติดเชื้อไวรัสฮานทา
            อาการเฉพาะเพาะของโรคเลปโตสไปโรซิสที่พบได้ในระยะแรก ๆ ของการป่วยจะมีไข้ ปวดศีรษะรุนแรงและปวดกล้ามเนื้อแยกจากโรคอื่น ๆ ได้ยากดังนั้นจึงต้องอาศัยผลการตรวจทางห้องปฏิบัติมาช่วยได้แก่ ระดับ Creatinine และ urea ในเลือดเพิ่มสูงขึ้น เม็ดเลือดขาวเพิ่มสูงขึ้นและบางรายอาจพบ แอนติบอดิย์ เพิ่มสูงขึ้น
                การแยกเชื้อได้จากเลือด ปัสสาวะหรือน้ำไขสันหลังถือเป็นการยืนยันผลการตรวจในการ
พิสูจน์โรคในผู้เสียชีวิตจะพบการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพ ซึ่งได้แก่ ดีซ่าน เลือดออกในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ไตโตและซีดมีเลือดออก การเสื่อมสลายของเซลล์ที่
Renal tuble และตับและอาจพบเชื้อ
เลปโตสไปราจากการย้อมสีเนื้อเยื่อด้วย
               
การดูแลรักษาผู้ป่วย
                การรักษาโรคควรประกอบด้วยการให้ยาปฏิชีวนะที่รวดเร็วและเหมาะสม  การรักษาตามอาการเพื่อแก้ไขความผิดปกติและภาวะแทรกซ้อนร่วมกับการรักษาประคับประคอง
                การให้ยาปฏิชีวนะโดยเร็วที่สุดจะช่วยลดความรุนแรงและป้องกันอาการแทรกซ้อนของโรคได้ Penicillin ถือเป็นยาปฏิชีวนะที่ให้ผลการรักษาดีที่สุด  สำหรับรายที่แพ้ Penicillin อาจให้ Doxycycline
                ยาปฏิชีวนะ Cephalosporins และ Lincomycin มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อนี้ในห้องทดลองได้ดี  แต่ยังไม่มีการศึกษาในผู้ป่วย
                การทดลองในสัตว์ (Elwell et at 1985) โดยใช้ยา Doxycycline ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อ (Bacteriostatic) มากกว่าการฆ่าเชื้อ (Bacteriocidal) ยานี้จะดูดซึมเร็วในเนื้อเยื่อต่าง ๆ รวมทั้งไต สมองและน้ำไขสันหลัง (NEU 1978) ผลการเพาะเชื้อไม่พบการดื้อยาและในลิงพบว่าสามารถลดระยะพบเชื้อในเลือดลงได้  รวมทั้งป้องกันการติดเชื้อในน้ำไขสันหลังและ
ในปัสสาวะได้ด้วย  ผลการทดลองในหนูตะเภาพบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อในปัสสาวะและป้องกันการตายได้

กลวิธีการป้องกันและควบคุมโรค
 จัดระบบการเฝ้าระวังโรค  พัฒนาศักยภาพของการเฝ้าระวังโรคในด้านต่าง ๆ เช่น
การพัฒนาและเพิ่มห้องปฏิบัติการ  การพัฒนาวิธีการตรวจทั้ง
screening tests และ confirmatory tests รวมทั้งการพัฒนาระบบการแจ้งโรค  การรายงานและระบบข้อมูลข่าวสาร จะทำให้ได้ข้อมูล
ที่เป็นประโยชน์ต่อการกำหนดมาตรการป้องกันควบคุมโรคที่มีประสิทธิ์ภาพ เช่น ข้อมูลผู้ป่วย
ข้อมูลการสอบสวนการระบาดของโรค การสำรวจโรคในสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า การสำรวจแหล่งน้ำ ดิน ทราย เพื่อค้นหาแหล่งปนเปื้อนหรือแหล่งแพร่เชื้อ เป็นต้น
ลดการปนเปื้อนเชื้อในสภาวะแวดล้อม  ควบคุมจำนวนหนู ทั้งในบริเวณที่อยู่อาศัยของคน  พื้นที่ทำการเกษตรกรรม บริเวณเลี้ยงปศุสัตว์และแหล่งพักผ่อนท่องเที่ยว เพื่อลดการปนเปื้อนเชื้อเลปโตสไปราในสภาวะแวดล้อม  ซึ่งในทางปฏิบัติจะไม่สามารถกำจัดหนูออกไปได้
ทั้งหมด  แต่การลดประชากรหนูลงในระดับหนึ่ง จะช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคระบาดได้ การควบคุมจำนวนหนูควรเลือกวิธีเหมาะสม เช่น การสร้างอาคารที่กันหนูได้ การใช้วัสดุพื้นลื่น เช่น สังกะสีหุ้มรอบเสายุ้งฉาง การปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการกำจัดขยะ การทำคันนาให้เล็กและเตี้ยเพื่อป้องกันไม่ให้หนูมาทำรัง การกำจัดหนูโดยวิธีกล การใช้สารเคมีทำลายหนูและการอนุรักษ์ศัตรูตามธรรมชาติของหนู เช่น งู พังพอน นกแสก นกเค้าแมว ให้อยู่ในสมดุลย์
จะช่วยควบคุมประชากรหนูไม่ให้เพิ่มมากเกินไป

ควบคุมจำนวนสุนัขจรจัด  ซึ่งควรเริ่มตั้งแต่การคุมกำเนิดสุนัขมีเจ้าของไม่ให้มีลูกมากเกินไปจนเจ้าของนำไปปล่อยให้เป็นสุนัขจรจัด  การส่งเสริมการดูแลรับผิดชอบสุนัข  การปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและรวมทั้งการกำจัดโดยตรงในกรณีจำเป็น

ให้การป้องกันโรคแก่สัตว์เลี้ยง ทำได้โดย  ฉีดวัคซีนให้สุนัข วัคซีนที่มีจำหน่ายในประเทศไทยผลิตจากซีโรวาร์ ที่พบบ่อยในสุนัข คือ Licterohaemorrtagiae และ L canicota แต่ไม่ครอบคลุมซีโรวาร์ที่พบมากในประเทศไทย เช่น L bataviae การฉีดวัคซีนที่มีซีโรวาร์ที่พบบ่อยในท้องถิ่นจะช่วยป้องกันโรคหรือลดความรุนแรงของโรคในสุนัขได้แต่ไม่สามารถป้องกันการเป็นพาหะได้ ดังที่มีรายงานการติดเชื้อในคนที่ได้รับเชื้อจากสุนัขที่ฉีดวัคซีนแล้ว (Bey and Johnson. 1978 Feigin et al. 1973)
-                    ไม่ปล่อยสุนัขออกไปเพ่นพ่านนอกบ้าน เพราะอาจไปสัมผัสหนูหรือแหล่งปนเปื้อนเชื้อได้
-                    ควบคุมกำจัดหนูในบ้านและบริเวณบ้านป้องกันควบคุมโรคในฝูงปศุสัตว์  เช่น โค กระบือ สุกร ฯ โดย
-                    ตรวจหาการติดเชื้อในสัตว์ ถ้าพบสัตว์ติดเชื้อต้องแยกออกเพื่อไม่ให้แพร่เชื้อไปยังสัตว์อื่นและให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะที่ได้ผลดี เช่น dihydrostreptomycin
-                    ถ้ามีการระบาดของโรคในฝูงสัตว์ อาจพิจารณาทำลายทั้งฝูง เพื่อสกัดกั้นวงจรการแพร่เชื้อ
-                    สัตว์ที่ตายด้วยโรคเลปโตสไปโรซิส ควรทำลายด้วยการฝังหรือเผา ไม่ควรชำแหละเพราะทำให้เชื้อแพร่ติดต่อมาถึงคนได้
-                    ในกรณีที่พบว่าซากในโรงฆ่าสัตว์มีพยาธิสภาพของโรคนี้ เช่น ไตมีเลือดออกหรือเนื้อตาย ไม่ควรนำไปเป็นอาหาร ควรตัดซากส่วนนั้นทิ้งไป
-                    ควบคุมกำจัดหนูบริเวณคอกสัตว์อย่างสม่ำเสมอ
-                    ไม่ปล่อยสุนัขเข้ามาปะปนอยู่กับฝูงสัตว์
-                    ปรับปรุงสุขาภิบาลในบริเวณเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะการกำจัดมูลสัตว์และการปรับบริเวณพื้นผิวคอก  และพื้นดินให้แห้ง
-                    ฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่ประกอบด้วย serovar ที่พบมากในท้องถิ่นนั้นให้แก่สัตว์จะช่วยป้องกันไม่ให้สัตว์เป็นโรคได้ แต่ไม่สามารถป้องกันการเป็นพาหะหรือลดระยะเวลาการขับเชื้อออกมากับปัสสาวะ
แก้ไขการปนเปื้อนเชื้อในสภาวะแวดล้อม วิธีการแก้ไขการปนเปื้อนเชื้อในบริเวณที่อยู่อาศัย พื้นที่เกษตรกรรม แหล่งพักผ่อนท่องเที่ยว  อาจทำได้โดย
-                    ถ้าพบการปนเปื้อนเชื้อในท่อระบายน้ำ ควรล้างระบายน้ำออกไป
-                    การปรับพื้นผิวดินให้แห้ง
-                    การใช้มาตรการทางกฎหมาย เช่น หากพบการปนเปื้อนเชื้อในแหล่งน้ำตาม
ธรรมชาติ อาจประกาศห้ามใช้ชั่วคราวจนกว่าจะแก้ไขการปนเปื้อนได้
-                    การใช้สารเคมีฆ่าเชื้อในพื้นที่เกษตรกรรม เช่น การใช้ copper sulfate ความเข้มข้น 1: 40,000 พ่นในนาข้าวในปริมาณ 1,500 กรัม/เฮคเตอร์ พบว่าสามารถทำลายเชื้อเลปโตสไปราได้ แต่เป็นวิธีไม่คุ้มทุน นอกจากนั้นยังมีการศึกษาการใช้สารเคมีอื่น ๆ ด้วย เช่น calcium cyanamide และhypochlorite แต่พบว่าไม่ได้ผล
ป้องกันและหลีกเลี่ยงการสัมผัสเชื้อ สำหรับพื้นที่เสี่ยงต่อโรคนี้ ควรดำเนินการให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงสูง ให้เข้าใจถึงวิธีการติดต่อของโรค รู้จักวิธีป้องกันการสัมผัสเชื้อ เนื้อหาที่ให้ความสอดคล้องกับสภาพปัญหา และปัจจัยหรือพฤติกรรมเสี่ยงในแต่ละกลุ่ม เช่น
-                    ดื่มน้ำต้มสุกและบริโภคอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ ด้วยความร้อน
-                    ปกปิดอาหารและน้ำไม่ให้หนูมาปัสสาวะรดได้
-                    หมั่นล้างมือภายหลังจับต้องเนื้อ ซากสัตว์ และสัตว์ทุกชนิด
-                    ในพื้นที่เสี่ยงควรหลีกเลี่ยงการแช่หรือลุยน้ำที่อาจปนเปื้อนเชื้อจากปัสสาวะสัตว์นำโรค โดยเฉพาะถ้ามีแผลที่เท้าและมือ ไม่ว่าจะเป็นแผลเล็กน้อยหรือขีดข่วน ถ้าจำเป็นหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรสวมรองเท้าบู๊ท หรือไม่แช่น้ำนานหลายชั่วโมงเพราะผิวหนังจะชุ่มน้ำจนอ่อนนุ่ม ทำให้เชื้อไชเข้าผิวหนังที่ไม่มีแผลได้ และเมื่อขึ้นจากน้ำแล้วต้องรีบอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดทันที
-                    ทำทางเดินในพื้นที่เกษตรกรรม สำหรับการทำงานที่ไม่จำเป็นต้องลงลุยน้ำย่ำโคลนจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อได้
-                    ใช้เครื่องนุ่งห่มป้องกัน เช่น สวมรองเท้าบู๊ทยาง ถุงมือยาง เพื่อป้องกันการแช่สัมผัสน้ำโดยตรงและสวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว เพื่อป้องกันไม่ให้ใบหญ้า ใบอ้อยบาดเป็นแผล เป็นต้น
-                    ควรเผาบริเวณรอบไร่อ้อยก่อนเก็บเกี่ยว เพื่อไล่หนูออกไปไม่ให้มาปัสสาวะรด ซึ่งอาจทำให้เชื้อออกมาปนเปื้อนบริเวณทำงาน
-                    การฉีดวัคซีนป้องกันแก่คนงานและผู้ประกอบอาชีพเสี่ยงต่อโรค เป็นวิธีที่ใช้ในญี่ปุ่น จีน อิตาลี สเปน ฝรั่งเศส และอิสราเอล โดยแต่ละประเทศมักใช้วัคซีนที่ผลิตเองในประเทศ เพื่อให้มีส่วนประกอบของ serovar ที่พบมากในพื้นที่นั้น
-                    การใช้ยา doxycycline พบว่าสามารถป้องกันโรคนี้ได้ดีโดยให้รับประทานยา 200 มิลลิกรัม สัปดาห์ละครั้งในระหว่างที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงสูง ข้อแนะนำนี้อ้างอิงผลการทดลองของ Takafuji et al. 1984 ที่ได้ทำการศึกษาในกลุ่มคน เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (placebo) 471 คน โดยให้ทหารในกลุ่มทดลองรับประทาน doxycycline 200 มิลลิกรัมหลังอาหารภายใน 2 ชั่วโมง (ถ้าทิ้งระยะถึง 5-7 ชั่วโมง จะมีผลข้างเคียง เช่น อาเจียน) ในวันแรกที่เข้าป่า ต่อมาทุกต้นสัปดาห์ และวันสุดท้ายก่อนกลับ พบอัตราการติดโรค (attack rate) ในกลุ่มที่รับประทานยาเท่ากับ 0.2% (1/469) ในกลุ่มควบคุม เท่ากับ 4.2 % (20/471) โดย attack rate ในกลุ่มรับประทานยาต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p < 0.001, efficacy = 95%)
            การพิจารณาใช้ยาป้องกันการติดเชื้อ (chemoprophylaxis) ในพื้นที่อื่น ๆ ควรมีการศึกษาวิจัยรองรับประสิทธิผลของมาตรการนี้ ควรพิจารณาจำกัดการใช้เฉพาะในกลุ่มเสี่ยงโรคสูง ที่ไม่สามารถใช้วิธีการป้องกันอื่นๆ ได้และมีความเสี่ยงต่อการสัมผัสโรคในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น นอกจากนี้ต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดความเสียหายตามมาด้วย โดยเฉพาะปัญหาการดื้อยาปฏิชีวนะ
-                    บุคลากรที่ดูแลผู้ป่วย ควรระมัดระวังการสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย และสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนปัสสาวะของผู้ป่วย ต้องนำไปฆ่าเชื้อ

สอบสวน ป้องกันและควบคุมการระบาด ควรค้นหาแหล่งที่มาของการติดเชื้อ เช่น แหล่งน้ำ เรือกสวน ไร่ นา ฟาร์มปศุสัตว์และโรงงานอุตสาหกรรม แล้วแก้ไขการปนเปื้อนเชื้อ หรือห้ามการใช้ชั่วคราวรวมทั้งการแยกและรักษาสัตว์ที่ติดเชื้อ


เอกสารอ้างอิง
คู่มือวิชาการ  โรตเลปโตสไปโรซิส กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวง
สาธารณสุข    หน้า
7 ,8 ,10,12,13,14,15,16,17